วันพฤหัสบดีที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

การแปลบันเทิงคดี (25/04/2559) (The Translation of Literary Work)

        บันเทิงคดี หมายถึง  งานเขียนทุกประเภทที่ไม่อยู่ในประเภทของงานวิชาการและสารคดี ทั้งนี้หมายรวมถึงงาน ร้อยแก้วและร้อยกอง บันเทิงคดี มีหลายรูปแบบ ได้แก่ นิทาน  นวนิยาย  เรื่องสั้น บทเพลง บทกวี ฯลฯ ซึ่งในการแปลบันเทิงคดีนั้นจะต้องคำนึงถึง องค์ประกอบของงานเขียนแบบบันเทิงคดี  องค์ประกอบของภาษา อีกด้วยเพื่อให้งานแปลที่ได้นั้นถูกต้องสมบูรณ์ และมีเนื้อหาครบถ้วน
องค์ประกอบของงานเขียนแบบบันเทิงคดี  บันเทิงคดีนั้นมีรูปแบบที่แตกต่างจากสารคดี ทั้งในด้านเนื้อหาและองค์ประกอบทางภาษา  บันเทิงคดีอาจเสนอเนื้อหาที่มีความเป็นจริงบ้าง   การถ่ายทอดสาระความรู้ในงานบันเทิงคดีมีความแตกต่างจากการเสนอสิ่งเหล่านี่ในสารคดี ดังนั้นบันเทิงคดีอาจเป็นการถ่ายทอดสิ่งที่เป็นจินตนาการของผู้เขียนล้วนๆ หรือถ่ายทอดจิตนาการผสมผสานกับความจริงของปรากฏการณ์ในสิ่งแวดล้อมต่างๆ  ผู้แปลจึงต้องศึกษาและฝึกแปลภาษาเฉพาะของบันเทิงคดีอย่างจริงจัง  ในการแปลบันเทิงคดีผู้แปลต้องคำนึงถึงองค์ประกอบสำคัญ 2 ประการคือ องค์ประกอบทางภาษา และองค์ประกอบที่ไม่ใช่ภาษา ซึ่งหมายถึงอารมณ์และท่วงทำนองของงาน
อีกหนึ่งสิ่งคือ องค์ประกอบด้านภาษา สามารถแบ่งออกเป็น  3 กลุ่ม ได้แก่ การใช้คำสรรพนามและคำเรียกบุคคล  การใช้คำที่มีความหมายแฝง และภาษาเฉพาะวรรณกรรม  ซึ่งคำที่ใช้เรียกบุคคลไม่หลากหลายและยุ่งยากเหมือนภาษาไทย  1. ภาษาที่มีความหมายแฝง  คำศัพท์ในภาษาใดๆ ประกอบด้วยคำศัพท์ที่มีความหมายตรงตัวหรือความหมายตามตัวอักษร เช่น  chicken หมายถึง  ไก่ นอกจากมีความหมายตรงตัวแล้วยังมีความหมายแฝงอีกด้วยเช่น  chicken = ไก่ ความหมายแฝงคือ หญิงสาวที่อ่อนต่อโลก
2.ภาษาเฉพาะวรรณกรรมหรือโวหารภาพพจน์ ภาษากลุ่มนี้จะเป็นกลุ่มภาษาที่มีลักษณะเด่นประการหนึ่งคือ การสะท้อนวัฒนธรรมด้านต่างๆลงไปในตัวภาษา ได้แก่ วัฒนธรรมการกินอยู่ แต่งกาย การงาน อาชีพ ความเชื่อ ศาสนา เศรษฐกิจ การเมือง สภาพดินฟ้าอากาศ กล่าวได้ว่า ภาษากลุ่มนี้มีความสัมพันธ์กับทุกแง่มุมของวัฒนธรรมของมนุษยชาติโดยผ่านกระบวนการถ่ายทอดทางภาษา จะสะท้อนความเป็นเอกลักษณ์ของแต่ละภาษา ซึ่งผู้แปลจะต้องศึกษาวัฒนธรรมของภาษาที่จะเปลอย่างลึกซึ้ง เพื่อแสดงให้เห็นความแตกต่างของภาษา โดยรูปแบบเฉพาะของภาษาที่ใช้ในบันเทิงคดีนั้น ได้แก่ โวหารอุปมาอุปไมย (simile) โวหารอุปลักษณ์ (metaphor)
3.โวหารอุปมาอุปไมย (simile) เป็นการสร้างภาพพจน์ด้วยวิธีการเปรียบเทียบเพื่อชี้แจง  มีจุดมุ่งหมายเพื่อการชี้แจงอธิบายเน้นสิ่งที่กล่าวถึงให้ชัดเจนและเห็นภาพพจน์มากขึ้น ข้อสังเกตคือโวหารอุปมาอุปไมยมักมีคำที่ใช้เป็นลักษณะเฉพาะของภาษานั้นคือ คำว่า ดัง ดั่ง เป็นดัง เหมือน เปรียบเสมือน เหมือนกับราวกับ เปรียบประดุจ เหมือนดั่ง เสมอ เฉกเช่น นี่คือคำที่ใช้ในโวหารอุปมาอุปไมยในภาษาไทย ส่วนภาษาอังกฤษ ได้แก่คำว่า Be ( is, am, are, was, were)  Be like , as…..as เป็นต้น ผู้แปลจะแปลโวหารนี้ได้ก็ต่อเมื่อวิเคราะห์ได้ว่า ประโยคนั้นเป็นการสมมุติแบบใด หากเป็นการสมมุติที่อาจเป็นได้ ผู้แปลจะต้องใช้โครงสร้างเงื่อนไนแบบที่ 1(Conditional sentence type I) แต่หากเป็นการเปรียบเทียบหรือสมมุติสิ่งที่ไม่สามารถเกิดขึ้นได้นั้นจะต้องใช้โครงสร้างเงื่อนไนแบบที่ 2 (Conditional sentence type II)และข้อความความนั้นแสดงว่าเป็นความจริง ผู้แปลจะต้องใช้ปัจจุบันกาล และส่วนที่เป็นการสมมุติจะต้องอยู่ในรูปของอดีต ส่วนโวหารอุปลักษณ์ (Metaphor) เป็นการเปรียบเทียบความหมายโดยนำความเหมือนกับไม่เหมือนมาเปรียบเทียบ ยกตัวอย่างเช่น เงินคือพระเจ้า เขาอยู่อยู่บนเส้นด้าย
                หลักการแปลโวหารอุปมาอุปไมย (simile) และโวหารอุปลักษณ์ (Metaphor) ผู้แปลจะต้องคำนึงถึงโครงสร้างไวยากรณ์และความแตกต่างของวัฒนธรรมทางภาษา โดยจะมีข้อปฏิบัติทีควรคำนึงดังนี้ a. เมื่อรูปแบบของภาษาสอดคล้องกันและมีความหมายตรงกันระหว่างสองภาษานั้นสามารถแปลตรงตัวอักษรได้เลย เช่น ออกดอกออกผล = bear fruit b. เมื่อโวหารนั้นไม่มีความสำคัญต่อเนื้อหาผู้แปลสามารถตัดทิ้งได้เลย c.เมื่องานเขียนเป็น กวีนิพนธ์นั้นผู้แปลจะต้องทำหมายเหตุหรืออธิบายความหมายของอุปมาอุปไมยหรืออุปลักษณ์ไว้ในเชิงอรรถ d.สืบค้นโวหารอุปมาอุปไมยและอุปลักษณ์ที่ปรากฏในงานเขียนชนิดต่างๆในภาษแปล หรือสืบค้นจากเอกสารอ้างอิงจำพวกพจนานุกรมเฉพาะ เช่น Dictionary of Idioms หรือ  Expression หนังสือรวบรวมสุภาษิต คำพังเพย คำคม ดังนั้นเมื่อรู้ความหมายแล้ว ผู้แปลสามารถตัดสินใจได้ว่าควรตัดทิ้งหรือควรแปลเพื่อให้ไดอรรถรสของต้นฉบับ

การถ่ายทอดตัวอักษร (Transliteration) (21/03/2559)

การถ่ายทอดตัวอักษรหมายถึงการนำความรู้มาเขียนด้วยตัวอักษรของอีกภาษาหนึ่งโดยพยายามให้การเขียนในอาสาใหม่นี้ถ่ายทอดเสียงของคำภาษาเดิมให้ใกล้เคียงที่สุดเท่าที่จะทำได้การถ่ายทอดตัวอักษรที่มีบทบาทในการแปลจากภาษาหนึ่งไปอีกภาษาหนึ่งในกรณีดังต่อไปนี้
1.ในภาษาต้นฉบับมีคำที่ใช้ชื่อเฉพาะของสิ่งต่างๆเช่นชื่อคนชื่อสถานที่ชื่อแม่น้ำภูเขา
2.ต้นฉบับมีความหมายอ้างอิง ถึงสิ่งที่เป็นรูปธรรมหรือนามธรรมที่ไม่มีในสังคมของ ภาษาฉบับแปลไม่มีคำเทียบเคียงให้ใช้ แค่คำที่ใช้เรียกต้นไม้ หรือสัตว์ ความคิดประเภทนี้ในภาษาอังกฤษแต่ไม่มีในภาษาไทยเนื่องจากยังไม่มีการบัญญัติศัพท์เกิดขึ้นผู้แปลแก้ปัญหาได้สองประการ คือ
1. ใช้วิธีให้คำนิยาม  2. ใช้ทับศัพท์ ตัวอย่างเช่นคำ football ซึ่งเมื่อถ่ายทอดเป็นภาษาไทยอาจให้คำนิยามว่า ลูกกลมๆทำด้วยหนัง หรือใช้ทับศัพท์ว่าฟุตบอล จึงมีความจำเป็นต้องเขียนคำนั้นในฉบับ แปลด้วยตัวอักษรของภาษาฉบับแปลในการทำดังนี้ผู้แปลควรยึดหลักปฏิบัติในการถ่ายทอดเสียงของคำดังต่อไปนี้ 1.ให้อ่านคำนั้นเพื่อให้รู้ว่าคำนั้นออกเสียงอย่างไร 2.ภาษาทุกภาษาจะมีเสียงพยัญชนะและสระตรงกันเป็นส่วนมาก เช่นการใช้ "พ" แทนเพียงในคำว่า Paul เป็นต้น
                3.เมื่อกำหนดตัวอักษรตัวใดตัวหนึ่ง แทนเสียงใดเสียงหนึ่งแล้ว ไม่ใช่ตัวนั้นตลอดไปอย่าเปลี่ยนไปเปลี่ยนมาไม่แน่นอน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในบทแปลบทเดียวกัน ต้องใช้หลักการถ่ายทอดอย่างเดียวตลอดไป 4.สำหรับการยืมคำศัพท์มาใช้โดยเขียนลงเป็นภาษาในฉบับแปลหาคำนั้นยังไม่เป็นที่แพร่หลายให้วงเล็บคำเดิมในต้นฉบับไว้ด้วย บัญชีที่หนึ่งจะกล่าวถึงการถ่ายทอดจากภาษไทยเป็นภาษาอังกฤษ ในช่องแรกเป็นตัวอักษรไทย ส่วนเสียงของตัวอักษรนั้นแสดงไว้ด้วยสัญลักษณ์ทางสัทศาสตร์ (phonetic symbols) ใน [ ] ในช่องที่สองเป็นตัวอักษรในภาษาอังกฤษ และช่อง ถัดไปเป็นตัวอย่าง





บัญชีที่สอง สำหรับการถ่ายทอดชื่อภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทย การดูให้ดูแบบเดียวกับบัญชีที่หนึ่ง กล่าวคือ ช่องที่หนึ่ง เป็นเสียง ช่องต่อไปคือ ตัวอักษรไทยที่ใช้แทน และช่องที่สามนั้นคือตัวอย่าง

















การถ่ายทอดตัวอักษรเป็นการนำคำในภาษาต้นฉบับแปลงให้เป็นภาษาภาษาเป้าหมาย  โดยผู้แปลต้องอาศัยกระบวนการถ่ายทอดทางเสียงหรือการอ่านออกเสียงคำนั้นๆ เพื่อให้มีความหมายเดิมมากที่สุดเพื่อคุณภาพของงงานแปลที่ดีและสามารถผู้อ่านสามารถอ่าน  อ่านงานแปลแล้วเข้าใจเนื้อหาและความหมายของคำนั้นได้อย่างถูกต้องตามต้นฉบับงานแปล

ภาษาไทยที่เป็นธรรมชาติ (14/03/2559)

การเขียนบทแปลที่ดี ต้องเขียนด้วย "ภาษาไทยที่เป็นธรรมชาติ" ซึ่งหมายถึงภาษาที่เขียนภาษาพูดที่คนไทยทั่วไปใช้กันจริงในสังคมไทย ทั้งนี้เพื่อให้คนไทยผู้อ่านผู้ใช้งานสามารถเข้าใจได้ทันทีไม่มีอุปสรรคในการรับสารที่สื่อจากบทแปล องค์ประกอบที่นักแปล ต้องพิจารณา ในการเขียนบทแปลด้วยภาษาไทยที่เป็นธรรมชาติ ได้แก่ องค์ประกอบย่อยของการแปล คือ คำ ความหมาย การสร้างคำ และสำนวนโวหาร ดังนี้
คำ ความหมาย และการสร้างคำ คำและความหมาย คำบางคำมีความหมายแตกต่างกันหลายอย่างมีทั้งความหมายโดยตรงและความหมายแฝง หรือความหมายเชิงเปรียบเทียบ เช่น

      คำบางคำมีความหมายต่างกันไปตามยุคสมัย เช่น ในสมัยก่อนๆ มีความหมายอย่างหนึ่งแต่ในปัจจุบันแตกต่างไปเป็นอีกอย่างหนึ่ง บางครั้งก็ตรงกันข้ามกัน บางครั้งก็มีความหมายไปในทางที่ดี บางครั้งก็มีความหมายเลวลง เช่น
กู            เดิมเป็นคำสามัญที่ใช้พูดจาทั่ว ๆ ไปปัจจุบันเป็นคำหยาบมีความหมายเลวลง อาจใช้ในกลุ่มเพื่อน สนิทเท่านั้น
ไพร่         เดิมหมายถึงชาวเมืองพลเมืองสามัญ ปัจจุบันหมายถึงคนที่ขาดมารยาท คนไม่สุภาพ คนเลว
        
ในการพูดหรือการเขียนที่ต้องการแสดงอารมณ์อาจนำคำที่มีความหมายไม่ดีมาใช้ให้เกิดความหมายที่ดีขึ้นก็ได้ เช่น
สวยอย่างร้าย        หมายความว่า       สวยมาก
ใจดีเป็นบ้า             หมายความว่า      ใจดีมาก
 เก่งบรรลัย             หมายความว่า      เก่งมาก
 2. การสร้างคำกริยา ในที่นี้กล่าวถึง การซึมท้ายคำกริยา ด้วยคำกริยา ซึ่งบางคนอาจเห็นว่าทำให้ภาษายุ่งยาก อย่างไรก็ตามบางครั้ง ก็ชัดเจนขึ้น ถ้าเราเข้าใจความหมายที่แท้จริงดั้งเดิมของมัน คำกริยาที่นำมาเสริมท้ายนั้น ได้แก่ ขึ้น ลง ไป มา (ซึ่งเป็นอย่างเดียวกันในภาษาขอมโบราณ ภาษาไทยคงนำวิธีการไล่มาจากขอมโบราณก็ได้) โดยไม่มีความหมายเลยแต่กลายเป็นคำบอกปริมาณและทิศทาง ดังนี้  ทำขึ้น  บอกปริมาณว่ามีเพียงเล็กน้อย จากไป บอกทิศทางว่า ห่างไกลออกไป เช่นเดียวกับ พูดไป คิดไป กลับมา บอกทิศทางว่า ใกล้ (ตรงกันข้ามกับ ไป) เช่นเดียวกับ บอกมา เขียนมา ตรงมา อย่างไรก็ตาม โปรดระวัง ถ้าใช้ ไป-มา ขึ้น-ลง คู่กัน กลับหมายถึงการทำซ้ำๆ แช่ง เดินไปเดินมา คือ เดิน ซ้ำหลายหน
3. การเข้าคู่คำ คือ การนำคำหลายคำมาเข้าคู่กันเพื่อให้ได้คำใหม่โดยมีความหมายใหม่หรือมีความหมายคงเดิม ดังนี้ คู่คำพ้องความหมาย จะเป็นคำในภาษาเดียวกัน หรือข้ามต่างประเทศ ส่วนมากจะมีความหมายคงเดิม เช่น ทรัพย์สิน (สันสกฤต และจีน) หมายความว่า ร่ำรวย สุขสบาย (บาลี และบาลี) แข็งแรง (เขมร และไทย) ข้าวปลาอาหาร (ไทย และบาลี) ข้าวปลาของไทยหมายความว่าอาหาร ครูคำที่มีความหมายตรงกันข้าม ส่วนมากจะได้ความหมายใหม่ เช่น ผู้ใหญ่ผู้น้อย (ใหญ่ ตรงกันข้ามกับ น้อย) หมายความว่า ทุกคน คนมีคนจน ( มี ตรงกันข้ามกับ จน) หมายความว่า ทุกคน งานหนักเบา ( หนัก ตรงกันข้ามกับ เบา) หมายความว่า งานทุกประเภทคู่คำที่มีความหมายต่างกัน มักจะได้คำใหม่ที่มีเค้าความหมายเดิมเหลืออยู่ เช่น ลูกเมีย หมายความว่า ครอบครัว พี่ป้าน้าอา หมายความว่า ยาก ข้าวปลา หมายความว่า อาหาร ข้าวของเครื่องใช้ หมายความว่า เครื่องอุปโภคบริโภค รถไฟ หมายความว่า รถทีเดินทางได้ด้วยพลังงานจากไฟหรือความร้อน เรือบิน, เครื่องบิน หมายความว่า ภาชนะที่บินได้อย่างนก
สำนวนโวหาร   ในการแปลขั้นสูงนี้ ผู้แปลต้องรู้จักสำนวนการเขียน การใช้โวหารหลายๆแบบ มิฉะนั้นจะทำให้เข้าใจความหมายไม่ชัดเจน บางครั้งอาจเข้าใจผิดเป็นตรงกันข้ามก็ได้ ก่อนที่จะกล่าวถึง สำนวนโวหารแปลก ๆ และซับซ้อนใคร่จะขอกล่าวถึง ขณะเฉพาะบาง ประการของสำนวนไทยซึ่งมักจะถูกละเลยหลงลืม จนกลายเป็นสิ่งที่เข้าใจยาก สำหรับสังคมไทย ดังนี้ สำนวนที่ประกอบด้วยคำว่า "ให้" ในสำนวนเช่นนี้ไม่มีความหมายเหมือนเมื่อเป็นกริยาสำคัญ (เช่น ให้เขาไปเถอะ ให้ แปลว่าอนุญาต ครูให้รางวัลนักเรียน ให้ มาแล้วมามอบให้ ทั้งสองตัวยาเป็นกริยาสำคัญของประโยค) แต่มีความหมายอย่างอื่น ดังต่อไปนี้ 1. จนกระทั่ง เช่น ในสำนวน รับประทานให้หมด ฟังให้จบ 2. กับ แก่ คำที่ตามหลัง "ให้" ทำหน้าที่เป็นกรรมรอง เช่น พ่อค้าขายของให้ลูกค้า คุณพ่อซื้อของขวัญให้ลูก 3. เพื่อที่จะ คือบอกจุดมุ่งหมายและผลของการกระทำ ในกรณีเช่นนี้ "ให้" จะวางไว้หน้ากริยา หรือวลี ที่เป็นกริยา เช่น ฉันเอาผ้าไปให้เค้าตัดเสื้อ ฉันจะเล่าให้เธอฟัง พูดให้ได้ยิน บอกให้รู้ จับให้มัน คั้นให้ตาย 4. เพื่อที่จะ ให้เป็นส่วนหนึ่งของ วลีที่ทำหน้าที่ขยายกริยา ใน กรณีเช่นนี้ "ให้" วางอยู่หน้าคำคุณศัพท์ เช่น แต่งตัวให้สบาย เรียนให้เก่ง ดูให้ดี สำนวนที่มีคำซ้ำ คำซ้ำในที่นี้หมายถึงทั้งคำ เดียวการซ้ำกัน (ซ้ำรูป) และคำที่มีความหมายเหมือนกัน (ซ้ำความหมาย) การใช้คำซ้ำ มีทั้งดีและเสียปนกันประดุจดาบสองคม ถ้าผู้เขียนไม่ได้ระมัดระวังจริงๆ ทั้งๆ ที่ตั้งใจให้ดีก็อาจกลายเป็นเสียไปได้ ส่วนดีของการใช้คำซ้ำ คือ 1. เพื่อความไพเราะ คำสั้น ๆ และเสียงห้วน ถ้ามีงานทำรูปจะทำให้เสียงทอดยาว อ่อนสลวย ไม่ฟังดูห้วน เช่น เดือดปุดๆ พูดหยก ๆ คำซ้ำเหล่านี้ถ้าอยู่โดดเดียวจะไม่ไพเราะเลย จึงไม่มีใครใช้ นอกจากนี้ยังมีตัวอย่างคำที่ซ้ำความหมาย เช่น อยู่โดดเดี่ยว อยู่เดียวดาย เป็นต้น 2. เพื่อให้มีความหมายอ่อนลง เช่น พูดดี ๆ นั่งเฉย ๆ มากกใช้กับประโยคคำสั่งเพื่อคลายความบังคับลงให้กลายเป็นขอร้อง บางครั้งการใช้คำซ้ำในกรณีเช่นนี้แสดงความไม่หนักแน่น ไม่แน่ใจไม่ปักใจ เช่น "เห็นสีหน้าบึ้ง ๆ" สำนวนนี้มีความหมายอ่อนกว่า "เห็นสีหน้าเค้าบึ้งตึง"
 3. เพื่อให้ได้คำใหม่ ๆ ใช้ เช่น ความคิดสร้างสรรค์ หมายถึง ไม่ลอกแบบใครคิดขึ้น ได้เอง 4. เพื่อแสดงว่ามีจำนวนมาก ปริมาณมาก หรือเป็นพหูพจน์ เช่น เด็ก ๆ มากินขนม การเดินเร็ว ๆ ทำให้เหนื่อยง่าย พ่อมาถึงเหนื่อย ๆ อย่าเพิ่งกวนใจ ส่วนเคลียร์ของการใช้คำซ้ำรูป และซ้ำความหมายมีอยู่อย่างเดียว คือ กลายเป็นรุ่มร่าม ฟุ่มเฟือย โดยไม่จำเป็น การใช้คำซ้ำซ้อนนี้ แสดงฝีมือของนักเรียนหรือกวีว่าประณีตหรือหยาบ สูงหรือต่ำ แต่ถ้าพลาด ก็กลายเป็นฟุ่มเฟือยไป เช่น ตัวอย่างสำนวนที่ดี เหน็ดเหนื่อยเมื่อยล้า บ้านช่องห้องหอ อาคารบ้านเรือน มุ่งมาดปรารถนา ตัวอย่างสำนวนที่ฟุ่มเฟือย สำนวนต่อไปนี้ถ้าตัดคำซ้ำออกจะได้ความดังเดิม มีความหมายไพเราะเท่าเดิม เขารวยมีเงินมาก คืนเดือนเพ็ญ พระจันทร์เต็มดวง น้องสาวอายุน้อยกว่า
4. เพื่อแสดงว่ามีจำนวนมาก ปริมาณมาก หรือเป็นพหูพจน์ เช่น เด็ก ๆ มากินขนม การเดินเร็ว ๆ ทำให้เหนื่อยง่าย พ่อมาถึงเหนื่อย ๆ อย่าเพิ่งกวนใจ ส่วนเคลียร์ของการใช้คำซ้ำรูป และซ้ำความหมายมีอยู่อย่างเดียว คือ กลายเป็นรุ่มร่าม ฟุ่มเฟือย โดยไม่จำเป็น การใช้คำซ้ำซ้อนนี้ แสดงฝีมือของนักเรียนหรือกวีว่าประณีตหรือหยาบ สูงหรือต่ำ แต่ถ้าพลาด ก็กลายเป็นฟุ่มเฟือยไป เช่น ตัวอย่างสำนวนที่ดี เหน็ดเหนื่อยเมื่อยล้า บ้านช่องห้องหอ อาคารบ้านเรือน มุ่งมาดปรารถนา ตัวอย่างสำนวนที่ฟุ่มเฟือย สำนวนต่อไปนี้ถ้าตัดคำซ้ำออกจะได้ความดังเดิม มีความหมายไพเราะเท่าเดิม เขารวยมีเงินมาก คืนเดือนเพ็ญ พระจันทร์เต็มดวง น้องสาวอายุน้อยกว่า  สำนวนที่มีคำแทรก เป็นลักษณะของคำสำนวนไทยที่อ่อนโยน ทำให้คำที่สั้นห้วนนั้นสลวยขึ้น เช่น ว่าง่าย-ว่านอนสอนง่าย ใจกว้าง-ใจคอกว้างขวาง
โวหารภาพพจน์  โวหารที่นักแปลจำเป็นต้องทำความเข้าใจให้ถ่องแท้คือ โวหารภาพพจน์ (Figures of Speech) ทั้งนี้เพราะนักเขียนหรือกวีมักจะสร้างภาพพจน์อย่างกว้างขวางสลับซับซ้อน ถ้าผู้อ่านมีประสบการณ์น้อยก็จะขึ้นไม่ถึงตามไม่ทัน และไม่เข้าใจจนบางครั้งเหมาว่ากวีโง่ไปเลยก็มี ผู้อ่านควรวางใจเป็นกลาง และศึกษาแนวคิดในการใช้โวหารภาพพจน์ ซึ้งผู้เขียนทั้งเก่าใหม่ ทุกชาติทุกภาษาใช้ร่วมกัน ดังนี้ 1. โวหารอุปมา (Simele) คือ การสร้างภาพพจน์ด้วยการเปรียบเทียบ โดยมีจุดมุ่งหมายจะชี้แจงอธิบาย พูดพาดพิงถึง หรือเสริมให้งดงามขึ้น โวหารแบบนี้จะเป็นวลีสั้น ๆ หรือทั้งประโยค หรือเป็นโครงกลอนทั้งบทก็ได้ เช่น หน้าแจ่ม ดัง ดวงจันทร์วันเพ็ญ ขาว เหมือน หิมะ ดำ อย่าง นิล 2. โวหารอุปลักษณ์ (Metaphor) คือ การเปรียบเทียบความหมายโดยนำ ความเหมือนและไม่เหมือนของสิ่งที่จะเปรียบเทียบมากล่าว การเปรียบเทียบแบบนี้แสดงความเก่งของกวี เพราะกวี จะเลี่ยงการใช้คำพื้นๆ ไปสู่คำใหม่ที่น่าตื่นตาตื่นใจกว่า เช่น วัยไฟ (วัยรุ่น) วินัยเหล็ก (วินัยที่ต้องปฏิบัติอย่างเข้มแข็ง)  3. โวหารเย้ยหยัน (Irony) คือ การใช้คำด้วยอารมณ์ขัน เพื่อยั่วล้อ เย้ยหยัน หรือชี้ให้เห็นข้อบกพร่อง ดังนั้นความหมายที่แท้จริงคือฉลาดนั้นเอง นักปราชญ์ผู้หนึ่งคือโสคราติส (Socrates) ได้เริ่มการถากถาง เหน็บแนบตัวเอง และหัวเราะเยาะเย้ยจุดอ่อนของตัวเอง ดังนั้นวิธีพูดหรือเขียน โดยยกตัวอย่างเป็นเป้าล้อ จึงเรียกว่า โวหารเย้ยหยันแบบโสคราติ  4. โวหารขัดแย้ง (Contrast หรือ Antitheses) การใช้คำที่มีความหมายตรงกันข้ามกัน มาเรียงต่อกันโดยรักษาสมดุลไว้ เช่นรักษาให้จำนวนคำเท่ากันทั้งสองฝ่าย  5. โวหารที่ใช้ส่วนหนึ่งแทนทั้งหมด (Metonymy) ได้แก่การนำคุณสมบัติเด่น ๆ ของสิ่งใดสิ่งหนึ่งมาใช้แทนที่จะเอ่ยนามสิ่งนั้นออกมาตรงๆ รวมทั้งส่วนประกอบของสิ่งของและของใช้ประจำของบุคคลโดยไม่กล่าวชื่อของสิ่งของหรือบุคคลนั้น ๆ เช่น ปากกาคมกว่าดาบ (ปากกาเป็นของใช้ประจำของนักเรียน ดาบเป็นของใช้ประจำของนักรบโบราณ)  6. โวหารบุคลลาธิษฐาน (Personification) คือการนำสิ่งต่างๆ ที่ไม่มีชีวิต รวมทั้ง ความคิด การกระทำ และนามธรรมอื่นๆ มากล่าวเหมือนเป็นบุคคล  7. โวหารที่กล่าวเกินจริง (Hyperbole) โวหารเช่นนี้มีจุดประสงค์ที่จะเน้นให้เห็นความสำคัญ ชีให้ชัดเจนและเด่น และใช้เพื่อแสดงอารมณ์ที่รุนแรง มิได้ต้องการอธิบายข้อเท็จจริง

ลักษณะที่ดีของสำนวนโวหาร  ในหนังสือที่แต่งดี มักจะประกอบด้วย สำนวนโวหารที่มีลักษณะดังต่อไปนี้  1. ถูกหลักภาษา คือ ไม่ขัดกับหลักไวยากรณ์ ถึงจะพลิกแพลง ไม่ตรงไปตามหลักเกณฑ์ ก็ไม่ถึงกับเปลี่ยนจากหน้ามือเป็นหลังมือ สำนวนที่เล่นลิ้น เล่นคำ ถ้าผิดหลักภาษาเสียแล้ว ทำให้ผู้อ่านเข้าใจผิด เช่น สุนัขฉันกัด การเรียงคำเช่นนี้ผิดระเบียบการเรียบเรียงคำให้ความหมายผิดไป แต่บางสำนวนกลับฟังดูกะทัดรัดดี เช่น "ตังค์แม่กินเหล้าหมดแล้ว"  2. ไม่กำกวม สำนวนโวหารที่ดีจะชัดเจน แม่นตรง ไม่ชวนให้เข้าใจไขว้เขว  3. มีชีวิตชีวา คือ ไม่นาบนาบ เฉื่อยชา ชวนให้ผู้อ่านรู้สึกกระตือรือร้น อยากอ่านต่อจนจบวางไม่ลง  4. สมเหตุสมผล น่าเชื่อถือ มีเหตุผลรอบคอบ ไม่อคติ ไม่ทราบความหลงผิดให้แก่ผู้อ่าน  5. คมคายเฉียบแหลม คือ การใช้คำพูดที่เข้มข้น หนักแน่น แฝงข้อคิดที่ฉลาด โดยใช้ถ้อยคำไม่กี่คำ สำนวนแบบนี้มักจะได้แก่สุภาษิต คำคม คำพังเพย เช่น น้ำขุ่นไว้ใน น้ำใสไว้นอก

(Text Types) ชนิดของงานเขียน (14/03/2559)


               จากการเรียนรู้ในครั้งนี้ได้เรียนรู้เกี่ยวกับ Text types ซึ่ง Text  คืองานเขียนชิ้นหนึ่งๆ  ชนิดของงานเขียนนั้นมีอยู่ด้วยกันหลายประเภท ซึ่งแต่ละชนิดของงานเขียนนั้นจะมีจุดมุ่งหมายแตกต่างกัน อาทิ เช่น เป็นการแสดงความคิด ความรู้สึก ความรู้ ชักชวน จูงใจให้เห็นด้วรูปแบบการเขียนมีหลายรูปแบบ แตกต่างกันไปตามจุดประสงค์ของงานเขียนนั้นเช่นกัน สามารถแบ่งได้ดังนี้ Descriptive writing, Narrative writing, Recount, Discussion, Exposition or Argument, Procedure, Information report, Explanation และ Personal Response
                ประเภทที่ 1 การเขียนแบบบรรยาย ( Descriptive writing) ในการเขียนเรียงความเชิงพรรณนา จะต้องถ่ายทอดหรือบรรยาย ให้เห็นลักษณะของคน สัตว์ สิ่งของ สถานที่ หรือแม้แต่ประสบการณ์ต่างๆ ประเภทที่ 2 การเขียนเล่าเรื่อง ( Narrative writing) เป็นการบอกเรื่องราวเกี่ยวกับประสบการณ์ส่วนบุคคลรวมทั้งเกี่ยวกับผู้อ่านด้วยการอธิบายข้อมูล และเป็นการเล่าเรื่องราวที่เป็นจริงหรือแต่งขึ้น ประกอบด้วย การเล่าเรื่องชีวประวัติ ของบุคคลต่างๆ เป็นการเล่าเรื่องเกี่ยวกับประสบการณ์สำคัญของชีวิตบุคคล การเล่าเรื่องที่เป็นบันเทิงคดี (Fictional narrative) เป็นการเล่าเรื่องที่ผู้เขียนแต่งขึ้น และการเล่าเรื่องส่วนบุคคล  (Personal narrative)  เป็นการเล่าเรื่องเกี่ยวกับประสบการณ์สำคัญในชีวิตของผู้เขียน งานเขียนอธิบาย (Expository) เป็นข้อเขียนที่อธิบายหรือบอกถึงสารสนเทศ ประกอบด้วย เรียงความเปรียบเทียบความเหมือนและความต่าง (Compare-contrast essay) เป็นข้อเขียนที่แสดงถึงความคล้ายคลึงและความแตกต่างระหว่างสิ่งสองสิ่ง 
                ประเภทที่ 3 งานเขียนที่เป็นสารสนเทศ (Information report) เป็นข้อเขียนที่ให้สารสนเทศตามลำดับที่เป็นเหตุผลเป็นการรายงานข้อมูล จะระวังในเรื่องของการวางแผนดำเนินเรื่อง แต่ละเนื้อหาจะเชื่อโยงกันเป็นพารากราฟ ใช้ present tense ในการแต่งประโยค ประเภทที่ 4 Procedure เป็นการเขียนที่เน้นการดำเนินงานเป็นขั้นตอนหรือสร้างขั้นตอน ต่อมาคือ diary extract เป็นการเขียนประสบการณ์ของแต่ละบุคคล แสดงความคิดเห็นรวมทั้งอารมณ์ ความรู้สึก

Explanation เป็นการเขียนเชิงอธิบาย เช่น การอธิบายตาราง การอธิบายกราฟ ในการเขียนจะต้องเขียนให้ชัดเจนเข้าใจง่ายมีการเชื่อมประโยค เชื่อมคำ มีเหตุมีผลและมีการเปรียบเทียบ ต่อมาเป็นดารเขียนแบบ personal response ซึ่งเป็นการเขียนบรรยายบุคคล แสดงถึงความประทับใจว่าเราประทับใจอะไรในตัวเขา หรือ ไม่เพียงแต่บรรยายได้แค่ตัวบุคคลเท่านั้น ยังเป็นการบรรยายเกี่ยวกับสถานที่ งาน หนังในโรงภาพยนตร์ว่าเราประทับใจส่วนไหน ซึ่งรูปแบบของการเขียนนั้นไม่จำเป็นต้องเป็นทางการการวิเคราะห์วิจารณ์งานเขียน (Response to literature) เป็นข้อเขียนที่กล่าวถึง  การสำรวจตรวจสอบเกี่ยวกับแก่นของเรื่อง (Theme) โครงเรื่อง (Plot) ตัวละครและด้านอื่นๆของบทในหนังสือ

สรุปได้ว่าประเภทของงานเขียนนั้นมีความหลากหลายแตกต่างกันไปตามจุดประสงค์หรือสิ่งที่ผู้เขียนนั้นต้องการสื่อหรือถ่ายทดอออกมา ดังนั้นผู้แปลควรทำความเข้าใจและวิเคราะห์ว่างานแปลนี้เป็นการเขียนประเภทใด เพื่อที่จะให้ได้งานแปลที่ดี มีคุณภาพ และมีเนื้อหาครบถ้วนสมบูรณ์ตามต้นฉบับหรือสอดคล้องกับสิ่งที่ผู้เขียนต้องการจะถ่ายทอด

Model 1 Relations between ideas (29/02/2559)


สี่เหลี่ยมผืนผ้ามุมมน: TITLE                การเขียน (Writing) หรืองานเขียนทุกประเภทนั้นจะมีลักษณะแตกต่างกันไปแล้วแต่ขึ้นอยู่กับชนิดของงานเขียนชนิดนั้น ซึ่งงานเขียนแต่ละประเภทก็จะมีจุดประสงค์ของงานเขียนแตกต่างกัน ดังนั้นสิ่งที่จำเป็นต่องานเขียนนั่นคือกลวิธีหรือลำดับขั้นตอนของการเขียนเพื่อให้เขียนออกมาแล้วมีจุดประสงค์ของงานเขียนที่ชัดเจน เข้าใจงานเขียนได้ง่ายขึ้น ซึ่งต่อไปนี้จะเป็นการนำเสนอความสัมพันธ์ระหว่าง  Ideas แนวความคิดดัง  Model ดังต่อไปนี้
 























****
(                                           )  = The main idea มีการเชื่อมความสัมพันธ์กับ Title
(                                           ) = แต่ละ main idea เชื่อมต่อกับ body ในส่วนของ main idea
(                                            ) = แต่ละ main idea เชื่อมกับ supporting ideas

                จากโมเดลข้างต้นนี้สามารถสรุปใจความได้ว่า ส่วนที่กว้างครอบคลุมคือ Topic ซึ่งจะเป็นส่วนที่ครอบคลุมเนื้อหาทั้งหมด ส่วนความสัมพันธ์ต่อมาคือ Title นั้นจะมีองค์ประกอบไปในส่วนรายละเอียดของเนื้อหาซึ่งเนื้อหานั้นจะต้องสัมพันธ์กับชื่อเรื่อง เนื้อหาส่วนนี้คือ Thesis statement ซึ่ง Thesis statement จะต้องมี main idea ซึ่งจะต้องมีความเชื่อมโยงและสอดคล้องกับ Supporting Idea