วันพฤหัสบดีที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2558

ความแตกต่างทางโครงสร้างองภาษาไทยกับภาษาอังกฤษที่มีอิทธิพลต่อการแปล

ความแตกต่างทางโครงสร้างของภาษาไทย
กับภาษาอังกฤษที่มีผลต่อการแปล
                       
                  คำว่า โครงสร้าง ตรงกับภาษาอังกฤษ (structure) เมื่อเรากล่าวว่า ภาษามีโครงสร้าง ประกอบด้วยส่วนต่างๆ มากมายและส่วนประกอบเหล่านี้เรียงตัวกันเป็นระบบ ภาษามีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกันและมีกกหรือระเบียบของความสัมพันธ์ดังกล่าวด้วย โครงสร้างเป็นสิ่งสำคัญมากในการเรียนรู้ภาษาหรือการใช้ภาษา
                    โครงสร้างเป็นสิ่งที่บอกว่าจะนำคำศัพท์ที่รู้มาประกอบหรือเรียงกันอย่างไร ในการแปล ผู้แปลมักนึกถึงศัพท์ เช่นเมื่อแปลไทยเป็นอังกฤษก็มักหาศัพท์ที่เทียบเท่าภาษาไทย ถ้าหากได้ก็คิดว่าไม่มีปัญหา ถ้าไม่ได้ก็จะเกิดปัญหา ปัญหาที่สำคัญและลึกซึ้งกว่านั้นคือ ปัญหาทางโครงสร้าง นักแปลผู้ใดก็ตามที่ถึงจะรู้ศัพท์แต่หากไม่เข้าใจความสัมพันธ์ของศัพท์เหล่านั้นก็มีโอกาสล้มเหลวได้เพราะอาจตีความหรือถ่ายทอดผิดได้
1.ชนิดของคำและประเภททางไวยากรณ์ที่สำคัญ
          ชนิดของคำ     เป็นสิ่งสำคัญในโครงสร้าง เพราะเมื่อสร้างประโยคเราต้องนำคำมาเรียงกันให้เกิดความหมายที่ต้องการสื่อสาร ประโยคจะถูกไวยากรณ์เมื่อเราใช้ชนิดของคำตรงกับหน้าที่ทางไวยากรณ์  อย่างไรก็ตาม การคำนึงถึงชนิดของคำนั้นยังไม่พอ ต้องคิดด้วยว่าเวลานำไปใช้จริง  คำชนิดนั้นเกี่ยวพันกับประเภททางไวยากรณ์อะไรบ้างในภาษานั้นๆ
          ประเภททางไวยากรณ์     หมายถึงลักษณะสำคัญในไวยากรณ์ ของภาษาใดภาษาหนึ่ง ซึ่งมักสัมพันธ์กับชนิดของคำ ประเภททางไวยากรณ์ที่สำคัญสำหรับการเทียบภาษาไทยกับภาษาอังกฤษโดยจะเรียงลำดับตามชนิดของคำที่เกี่ยวข้อง

1.1  คำนาม
เมื่อเปรียบเทียบคำนามในภาษาไทยกับภาษาอังกฤษ พบว่าในภาษาอังกฤษเป็นลักษณะที่ไม่สำคัญหรือไม่มีตัวบ่งชี้ในภาษาไทย ได้แก่ บุรุษ (person), พจน์ (number), การก (case), ความชี้เฉพาะ (definiteness), ความเข้าใจเกี่ยวกับลักษณะเหล่านี้จะช่วยในการแปลอย่างมาก
1.1.1       บุรุษ (person)
บุรุษ  เป็นประเภททางไวยากรณ์ที่บ่งบอกว่าคำนานมหรือสรรพนามที่นำมาใช้ในประโยคหมายถึงผู้พูด (บุรุษที่ 1) ผู้ที่ถูกพูดด้วย (บุรุษที่ 2) หรือผู้ที่ถูกพูดถึง (บุรุษที่ 3)
1.1.2       พจน์ (number)
พจน์ เป็นประเภททางไวยากรณ์ที่บ่งบอกจำนวน ว่าเป็นจำนวนเพียงหนึ่ง หรือจำนวนมากกว่าหนึ่ง
1.1.3       การก (case)
การก คือประเภททางไวยากรณ์ของคำนามเพื่อบ่งชี้ว่าคำนามนั้นเล่นบทบาทอะไร คือสัมพันธ์กับคำอื่นในประโยคอย่างไร เช่นเป็นประธาน กรรม สถานที่ เป็นต้น ภาษาต่างกันมีการแสดงการกด้วยวิธีต่างกัน
1.1.4       นามนับได้ กับ นามนับไม่ได้ (countable and uncountable nouns)
คำนามในภาษาอังกฤษต่างจากภาษาไทยในเรื่องการแบ่งเป็น นามนับได้ และ นามนับไม่ได้ ผู้พูดภาษาอังกฤษทุกคนแยกความแตกต่างระหว่างคำนาม เช่น cat, house, book กับคำนาม เช่น hair, water, sugar ความแตกต่างดังกล่าวนี้แสดงโดยการใช้ตัวกำหนด a/an กบนามนับได้ที่เป็นเอกพจน์ และเติม –s ที่นามนับได้พหูพจน์ ส่วนนามนับไม่ได้ต้องไม่ใช้ a/an และไม้องเติม –s ดังตัวอย่างต่อไปนี้
            นับได้ (เอกพจน์)                                              นับได้ (พหูพจน์)
            a cat                                                               cats
a house                                                          houses
             a egg                                                             eggs
            นามนับไม่ได้ (ไม่แยกเอกพจน์-พหูพจน์ ถ้าแยกจะผิดไวยากรณ์)
            Hair (*a hair, *hairs)
            Water (*a water, *waters)
            Sugar (*a sugar, *sugar)
                        ในภาษาไทย คำนามทุกคำนับได้ เพราะเรามีลักษณะนามบอกจำนวนของ
ทุกสิ่งได้ เช่น
แมว 1 ตัว                                 แมว 7 ตัว
บ้าน 1 หลัง                              บ้าน 3 หลัง
1.1.5       ความชี้เฉพาะ (definiteness)
ประเภททางไวยากรณ์อีกประเภทหนึ่งที่มีความสำคัญในภาอังกฤษ แต่ไม่สำคัญในภาษาไทย ได้แก่ ความแตกต่างระหว่างนามชี้เฉพาะ กับ นามไม่ชี้เฉพาะ
            การแยกความแตกต่างระหว่างชี้เฉพาะกับไม่ชี้เฉพาะนี้ไม่มีในภาษาไทย จึงอาจเป็นเรื่องยากที่จะเข้าใจสำหรับคนไทย

1.2            คำกริยา
เป็นหัวใจของประโยค การใช้กริยาซับซ้อนกว่าคำนาม เพราะมีบางประเภททางไวยากรณ์ต่างๆเข้ามาเกี่ยวข้องหลายประเภท เช่น กาล  การณ์ลักษณะ มาลา วาจก และความแตกต่างของกริยาแท้หรือไม่แท้
        1.2.1 กาล (tense)
        คำกริยาในภาษาอังกฤษต้องแสดงกาลเสมอว่าเป็นอดีต ปัจจุบัน หรือ อนาคต
        1.2.2 การณ์ลักษณะ (aspect)
         หมายถึงลักษณะของการกระทำ หรือเหตุการณ์ เช่นการดำเนินอยู่ของเหตุการณ์ การเสร็จสิ้นของการกระทำ การเกิดซ้ำของเหตุการณ์ เป็นต้น ในภาษาอังกฤษ  การณ์ลักษณะที่สำคัญ ได้แก่ การณ์ลักษณะต่อเนื่อง หรือ การณ์ลักษณะดำเนินอยู่ (continuous aspect) ซึ่งแสดงโดย  V. to be + present participle (–ing) และการณ์ลักษณะเสร็จสิ้นแล้ว แสดงโดย  V. to have + past participle  ในภาษาไทย เหตุการณ์ ที่ต่อเนื่องหรือกำลังดำเนินอยู่แสดงด้วยคำว่า กำลังหรือ อยู่หรือใช้ทั้งคู่ส่วนการณ์ลักษณะที่เสร็จสิ้นแสดงโดยคำว่า แล้ว
       1.2.3 มาลา (mood)
       มีหน้าที่แสดงว่าผู้พูดมีทัศนคติอย่างไร ในภาษาไทยไม่มีการแสดงมาลา แต่ในภาษาอังกฤษมี เช่น ประโยคสมมติที่เป็นไปไม่ได้ ประโยคคาดคะเน  กริยาจะไม่ใช้รูปธรรมดา เช่น  I wish I could fly (รูปปกติคือ can) มาลาแสดงโดยการเปลี่ยนรูปคำกริยา หรืออาจแสดงโดยกริยาช่วย (modal auxiliaries)
      

       1.2.4 วาจก (voice)
        ทำหน้าที่บ่งชี้ความสัมพันธ์ระหว่างประธานกับกริยา ว่าประธานเป็นผู้กระทำ หรือ ผู้ถูกกระทำ ในภาษาไทยกริยาไม่มีการเปลี่ยนรูป แต่ความหมายของประโยคหรือกริยาช่วย ถูก โดน ได้รับ เป็น สามารถบ่งบอกกรรมวาจกได้
       1.2.4 กริยาแท้หรือไม่แท้ (finite vs. nonfinite)
       กริยาในภาษาอังกฤษต่างจากภาษไทยมากในเรื่องกริยาแท้หรือไม่แท้ ในภาษา ไม่มีความแตกต่างระหว่างกริยาแท้หรือไม่แท้ กล่าวคือในประโยคไม่มีการแสดงรูปที่ต่างกัน หรือเครื่องหมายที่เราจะระบุได้ทันทีว่าตัวไหนเป็นกริยาแท้หรือไม่
1.3 ชนิดของคำประเภทอื่น
        ชนิดของคำประเภทอื่นจะมีความซับซ้อนน้อยกว่านามและกริยา และไม่ก่อให้เกิดปัญหาในการแปลมากเท่านามและกริยา
         ภาษาอังกฤษและภาษาไทยแตกต่างกันในเรื่องชนิดของคำและประเภททางไวยากรณ์ที่สำคัญหลายประการซึ่งถ้าผู้แปลมีความใจก็จะช่วยให้การแปลง่ายขึ้น
2. หน่วยสร้างที่ต่างกันในภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
       2.1 นามวลี : ตัวกำหนด (Determiner)+นาม (อังกฤษ) vs. นาม (ไทย) ในภาษาอังกฤษมีตัวกำหนดแบบบังคับ แต่ในภาษาไทยจะมีหรือไม่มีก็ได้
       2.2 การวางส่วนขยายในนามวลี ส่วนขยาย+ส่วนหลัก(อังกฤษ)  vs. ส่วนขยาย+ส่วนหลัก(อังกฤษ)  ในการวางส่วนขยายมีความแตกต่างอย่างตรงกันข้ามระหว่างภาษาไทยกับภาษาอังกฤษ
       2.3 หน่วยสร้างกรรมวาจก (passive con- structions ) ภาษาอังกฤษมีรูปแบบชัดเจน แต่ในภาษาไทยมีหลายรูปแบบ
       2.4 (subject  vs.  topic) ประโยคในภาษอังกฤษต้องมีประธานเสมอ แต่ประโยคในภาษาไทยไม่จำเป็นต้องมีประธาน
            2.5 หน่วยสร้างกริยาเรียง (serial verb construction) มีในภาษาไทยแต่ไม่มีในภาษาอังกฤษ
สรุปท้ายสุดคือหากผู้แปลตระหนักในความสำคัญของความแตกต่างทางโครงสร้างในภาษาไทยและภาษาอังกฤษดังแสดงมาข้างต้น ผู้แปลจะมีปัญหาในการแปลน้อยลง และผลงานที่แปลจะใกล้เคียงกับลักษณะภาษาแม่ในภาษาเป้าหมายมากที่สุด



         




 

                                                

วันพุธที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2558

บทที่ 1 ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการแปล

บทที่ 1
ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการแปล
ความสำคัญของการแปล
ปัจจุบันมีการใช้ภาษาอังกฤษในการสื่อสารเพเล่มขึ้นอย่างกว้างขวาง แสดงให้เห็นว่าภาษาอังกฤษมีความสำคัญเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ   การแปลจึงมีความสำคัญมากขึ้นเนื่องจากประเทศไทยมีการติดต่อกับต่างประเทศในวงการต่างๆ มากขึ้น บางคนอาจจะรู้ภาษาต่างประเทศไม่ดีพอจึงจำเป็นต้องอาศัยการแปล เพื่อประหยัดเวลาและให้งานมีประสิทธิภาพ
การแปลในประเทศไทย
การแปลในไทยเริ่มมาตั้งแต่สมัยพระนารายณ์มหาราช มีการฝึกนักแปลประจำสำนัก และมีการสอนภาษาอังกฤษในราชสำนักและการแปลเริ่มมีบทบาทสำคัญในสังคมไทย ตั้งแต่ความก้าวหน้าของวิทยาศาสตร์สมัยใหม่ รวมถึงความเจริญทางเทคโนโลยี่ความต้องการด้านการแปลจึงมากขึ้นเป็นลำดับโดยเฉพาะประเทศที่กำลังพัฒนา ควรมีการแปลงานทุกด้าน การท่องเที่ยว ด้านวิชาการ การเมือง การศึกษา ฯลฯ เป็นภาษาไทยให้มากที่สุดเพื่อสร้างความเข้าใจระหว่างประเทศ ระหว่างประชาชน และระหว่างสังคม ระหว่างวัฒนธรรมที่แตกต่างกันระหว่างประเทศต่างๆ
              การแปลเป็นเรื่องที่ลึกซึ้ง ใช้ในการพัฒนาทั้งทางวรรณคดี วัฒนธรรม วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยเฉพาะทาง science  กับ technology ต้องแปลให้ถูกต้อง การแปลจะต้องมีความรู้ด้านภาษา และต้องเข้าใจวัฒนธรรมของอีกด้วย เช่น สำนวน “ I am mad of my apartment ” ในอเมริกาหมายถึง ฉันไม่ชอบที่อยู่อย่างยิ่ง”  แต่ในอังกฤษหมายถึง ฉันชอบที่อยู่มากทีเดียว
การสอนแปลในระดับมหาวิทยาลัย
             การสอนแปลในระดับมหาวิทยาลัย เป็นการสอนไวยากรณ์ และโครงสร้างของภาษาการใช้ภาษา รวมทั้งการอ่านเพื่อความเข้าใจ เนื่องจากนักศึกษายังขาดความรู้ในเรื่องเหล่านี้และผู้ที่จะแปลได้จะเป็นผู้ที่มีความรู้ทางภาษาอย่างดีแล้ว
การแปลคืออะไร
               คือการถ่ายทอดความคิดจากภาษาหนึ่งไปยังอีกภาษาหนึ่งโดยมีใจความครบถ้วนสมบูรณ์ตรงตามต้นฉบับทุกประการ ไม่มีการตัดต่อหรือแต่งเติมที่ไม่จำเป็นใดๆ ทั้งสิ้น
         ปราณี  บานชื่น  ได้ให้ความหมายของการแปลไว้คือ
1.     การแปลเป็นกระบวนการที่กระทำต่อภาษา คือ เอาข้อความที่เขียนด้วยภาษาหนึ่ง ไปใช้แทนอีกภาษาหนึ่ง
2.     การแปลเป็นทักษะพิเศษ เป็นทั้งศาสตร์และศิลป์
3.     ผู้แปลจะต้องถ่ายทอดความคิดจากต้นฉบับออกมาเป็นภาษาที่ต้องการได้อย่างถูกต้องและครบถ้วน ขึ้นอยู่กับความสามารถและความรู้ของผู้แปล จึงเป็นเรื่องที่สามารถเรียนรู้และฝึกปฏิบัติได้
คุณสมบัติของผู้แปล
                ผู้แปลควรมีลักษณะดังนี้
1.     เป็นผู้รู้ภาษาอย่างดีเลิศ
2.     สามารภถ่ายทอดความรู้ให้ผู้อื่นเข้าใจได้
3.     เป็นผู้ที่มีศิลปะในการใช้ภาษา
4.     เป็นผู้เรียนวิชาภาษาและวรรณคดีหรือภาษาศาสตร์
5.     ผู้แปลจะต้องเป็นผู้รอบรู้ รักเรียน รักอ่าน และรักการค้นคว้าวิจัย เพราะเป็นสิ่งที่สำคัญของการแปล
6.     ผู้แปลต้องมีความอดทนและเสียสละ
       
จุดมุ่งหมายของผู้สอนแปล คือ สอนฝึกและผลิตนักแปลที่มีคุณภาพ
            สรุปคือผู้แปลจะต้องมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้
1.     รู้ลึกซึ้งในเรื่องภาษา มีความรู้พื้นฐานด้าภาษาอย่างดี มีความสามารถในการใช้ภาษา
2.     รักการอ่าน  ค้นคว้า
3.     มีความอดทนความพยายามที่จะปรับปรุงแก้ไข
4.     มีความรับผิดชอบ รู้จักใช้ความคิดตนเอง
วัตถุประสงค์ของการสอนแปล
1.     เพื่อผลิตนักแปลที่มีคุณภาพให้ออกไปรับใช้สังคมในด้านต่างๆ
2.     การสอนแปลให้ได้ผลตามทฤษฎีวิชาแปลเกี่ยวเนื่องกับ 2 ทักษะคือ ทักษะในการอ่านและทักษะในการเขียน
3.     ผู้สอนแปลต้องหาทางให้ผู้เรียนได้อ่านอย่างกว้างขวาง มีกิจกรรมส่งเสริมให้มีการค้นคว้าเพื่อหาทางแก้ปัญหาด้วยตนเอง ผู้แปลจึงต้องมีประสบการณ์และความรู้จากการอ่านการสังเกต และการค้นคว้าเป็นส่วนใหญ่
4.     ให้ผู้เรียนแปลได้พบปะแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับนักแปลเพื่อเป็นการเตรียมตัวที่ดี
บทบาทของการแปล
         การแปลเป็นทักษะพิเศษในการสื่อสาร คือ ผู้รับสาร ไม่ได้รับสารจากผู้ส่งสารคนแรกโดยตรง แต่รับสารจากผู้แปลอีกทอดหนึ่ง   จะเห็นได้ว่า ในการสื่อสาร มีผู้แปลเป็นตัวกลางระหว่างผู้ส่งสารและผู้รับสาร ในฐานะที่ผู้แปลเป็นตัวกลางในการสื่อสารจึงมีบทบาทสำคัญมาก
ลักษณะของการแปลที่ดี
              งานแปลที่ดี เนื้อหาต้องตรงตามต้นฉบับใช้ภาษาชัดเจน ใช้รูปประโยคสั้นๆ รักษาแบบหรือสไตล์การเขียนของต้นฉบับไว้ และมีการปรับแต่งถ้อยคำสำนวนให้เข้ากับสภาพสังคม เพื่อให้ผู้อ่านงานแปลเกิดความเข้าใจ
ลักษณะงานแปลภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทยที่ดี
1.     ภาษาไทยที่ใช้ในงานแปลต้องมีลักษณะเป็นธรรมชาติ ไม่ติดสำนวนฝรั่ง ปรับเป็นสำนวนไทยตามที่ใช้กันโดยทั่วไป
2.     สามารถนำต้นฉบับมาเทียบเคียงกับคำแปลภาษาไทยได้ เน้นความชัดเจนของภาษาเป็นสำคัญ
3.     ใช้การแปลแบบตีความ แปลแบบเก็บความเรียบเรียงและเขียนใหม่ ไม่แปลแบบคำต่อคำ



การให้ความหมายในการแปล
การให้ความหมายมี 2 ประเภท คือ
1.     การแปลที่ใช้รูปประโยคต่างกันแต่มีความหมายอย่างเดียวกัน
2.     การตีความหมายจากปริบทของข้อความต่างๆ
การแปลอังกฤษเป็นไทย ต้องคำนึงถึงความหมาย ดังนี้
1.     อนาคตกาล การแปลที่ต้องเปรียบเทียบระหว่างปัจจุบันและอนาคต
2.     โครงสร้างประโยคอื่นๆ ในการแปลแบบของกาลในภาษาอังกฤษ รวมทั้งโครงสร้างของไวยกรณ์ จะแปลในระดับประโยคไม่แปลในระดับคำและแปลตามความหมายของศัพท์ ไม่ใช้ตามโครงสร้างไวยากรณ์
3.     ศัพท์เฉพาะ  การแปลความหมายตามศัพท์จะดูง่าย เช่น dog , time เป็นต้น แต่ถ้าเป็นเรื่องของโครงสร้าง จะมีศัพท์ที่แปลตามคำแล้วไม่ใกล้เคียงกัน เช่น คำว่า embarrass หรือ bathe ซึ่งตรงข้ามกับคำว่า bath , dish shower และ wash ภาษาไทยใช้คำว่า อาบน้ำ คำเดียว
4.     ตีความทำนาย สิ่งที่สำคัญก็คือ การแปลข้ามภาษาจะต้องคำนึงถึงความหมายทั่วๆ ไปมากกว่าการให้คำเหมือน หรือให้ความหมายเหมือนกับในรูปประโยคที่ต่างกันในภาษาเดียวกัน




การวิเคราะห์ความหมาย
สิ่งที่จะต้องนำมาใช้ในการวิเคราะห์ความหมาย คื
1.     องค์ประกอบของความหมาย
2.     ความหมายและรูปแบบ
3.     ประเภทของความหมาย
องค์ประกอบของความหมาย
1.     คำศัพท์  ความหมาย ของคำแต่ละคำจะเปลี่ยนไปได้ในปริบทต่าง ๆตามที่คำนั้นปรากฏอยู่
2.     ไวยากรณ์  หมายถึง แบบแผนการจัดเรียงคำในภาษา เพื่อให้เป็นประโยคที่มีความหมาย
3.     เสียง ในภาษาจะมีเสียงจำนวนมากซึ่งเป็นเสียงที่มีความหมาย นำเสียงเหล่านี้มารวมกันอย่างมีระบบจะทำให้เกิดเป็นหน่วยความหมาย เรียกว่า คำ
ประเภทของความหมาย
1.     ความหมายอ้างอิง หรือความหมายโดยตรง
2.     ความหมายแปล หมายถึง ความรู้สึกทางอารมณ์ของผู้อ่าน ผู้ฟัง อาจจะเป็นทางบวกหรือทางลบก็ได้
3.     ความหมายตามปริบท รูปแบบหนึ่งๆ ของภาษาอาจจะมีความหมายหลายความหมาย ต้องพิจารณาจากปริบทที่แวดล้อมคำนั้นทั้งหมดจึงจะรู้ความหมายที่ต้องการสื่อ
4.     ความหมายเชิงอุปมา เป็นความหมายที่เกิดจากการเปรียบเทียบ ผู้แปลจะต้องวิเคราะห์การเปรียบเทียบโดยแบ่งองค์ประกอบ ออกเป็น 3 ส่วนคือ
1.สิ่งที่นำมาเปรียบเทียบ
2. สิ่งที่ถูกเปรียบเทียบ
3. ประเด็นของการเปรียบเทียบ
ในบางครั้งประเด็นของการเปรียบเทียบไม่ได้แสดงให้เห็นชัดเจน  ผู้แปลจะต้องค้นหาเอง และเข้าใจความหมายของการเปรียบเทียบได้ถูกต้อง จึงจะจับประเด็นของการเปรียบเทียบได้
การเลือกบทแปล
              เลือกบทแปลตามวัตถุประสงค์ของการสอนแปล โดยคำนึงถึงการทำให้ผู้เรียนได้มีโอกาสตระหนักถึงความบกพร่องต่างๆ ของตนในการแปลและให้ผู้เรียนได้ความรู้ทั้งด้านทักษะทางภาษาและเนื้อหาไปด้วย