การเขียนบทแปลที่ดี ต้องเขียนด้วย
"ภาษาไทยที่เป็นธรรมชาติ"
ซึ่งหมายถึงภาษาที่เขียนภาษาพูดที่คนไทยทั่วไปใช้กันจริงในสังคมไทย
ทั้งนี้เพื่อให้คนไทยผู้อ่านผู้ใช้งานสามารถเข้าใจได้ทันทีไม่มีอุปสรรคในการรับสารที่สื่อจากบทแปล องค์ประกอบที่นักแปล ต้องพิจารณา
ในการเขียนบทแปลด้วยภาษาไทยที่เป็นธรรมชาติ ได้แก่ องค์ประกอบย่อยของการแปล คือ คำ
ความหมาย การสร้างคำ และสำนวนโวหาร ดังนี้
คำ ความหมาย และการสร้างคำ คำและความหมาย คำบางคำมีความหมายแตกต่างกันหลายอย่างมีทั้งความหมายโดยตรงและความหมายแฝง
หรือความหมายเชิงเปรียบเทียบ เช่น
คำบางคำมีความหมายต่างกันไปตามยุคสมัย เช่น
ในสมัยก่อนๆ มีความหมายอย่างหนึ่งแต่ในปัจจุบันแตกต่างไปเป็นอีกอย่างหนึ่ง
บางครั้งก็ตรงกันข้ามกัน บางครั้งก็มีความหมายไปในทางที่ดี
บางครั้งก็มีความหมายเลวลง เช่น
กู เดิมเป็นคำสามัญที่ใช้พูดจาทั่ว ๆ ไปปัจจุบันเป็นคำหยาบมีความหมายเลวลง
อาจใช้ในกลุ่มเพื่อน สนิทเท่านั้น
ไพร่ เดิมหมายถึงชาวเมืองพลเมืองสามัญ
ปัจจุบันหมายถึงคนที่ขาดมารยาท คนไม่สุภาพ คนเลว
ในการพูดหรือการเขียนที่ต้องการแสดงอารมณ์อาจนำคำที่มีความหมายไม่ดีมาใช้ให้เกิดความหมายที่ดีขึ้นก็ได้
เช่น
สวยอย่างร้าย หมายความว่า สวยมาก
ใจดีเป็นบ้า หมายความว่า ใจดีมาก
เก่งบรรลัย หมายความว่า เก่งมาก
2. การสร้างคำกริยา ในที่นี้กล่าวถึง การซึมท้ายคำกริยา ด้วยคำกริยา
ซึ่งบางคนอาจเห็นว่าทำให้ภาษายุ่งยาก อย่างไรก็ตามบางครั้ง ก็ชัดเจนขึ้น
ถ้าเราเข้าใจความหมายที่แท้จริงดั้งเดิมของมัน คำกริยาที่นำมาเสริมท้ายนั้น
ได้แก่ ขึ้น ลง ไป มา (ซึ่งเป็นอย่างเดียวกันในภาษาขอมโบราณ
ภาษาไทยคงนำวิธีการไล่มาจากขอมโบราณก็ได้)
โดยไม่มีความหมายเลยแต่กลายเป็นคำบอกปริมาณและทิศทาง ดังนี้ ทำขึ้น บอกปริมาณว่ามีเพียงเล็กน้อย จากไป บอกทิศทางว่า ห่างไกลออกไป เช่นเดียวกับ พูดไป คิดไป กลับมา บอกทิศทางว่า ใกล้ (ตรงกันข้ามกับ ไป) เช่นเดียวกับ บอกมา
เขียนมา ตรงมา อย่างไรก็ตาม โปรดระวัง ถ้าใช้ ไป-มา ขึ้น-ลง
คู่กัน กลับหมายถึงการทำซ้ำๆ แช่ง เดินไปเดินมา
คือ เดิน ซ้ำหลายหน
3. การเข้าคู่คำ
คือ
การนำคำหลายคำมาเข้าคู่กันเพื่อให้ได้คำใหม่โดยมีความหมายใหม่หรือมีความหมายคงเดิม
ดังนี้ คู่คำพ้องความหมาย จะเป็นคำในภาษาเดียวกัน
หรือข้ามต่างประเทศ ส่วนมากจะมีความหมายคงเดิม เช่น ทรัพย์สิน
(สันสกฤต และจีน) หมายความว่า ร่ำรวย สุขสบาย (บาลี
และบาลี) แข็งแรง (เขมร และไทย) ข้าวปลาอาหาร
(ไทย และบาลี) ข้าวปลาของไทยหมายความว่าอาหาร ครูคำที่มีความหมายตรงกันข้าม
ส่วนมากจะได้ความหมายใหม่ เช่น ผู้ใหญ่ผู้น้อย
(ใหญ่ ตรงกันข้ามกับ น้อย) หมายความว่า ทุกคน คนมีคนจน
( มี
ตรงกันข้ามกับ จน) หมายความว่า ทุกคน งานหนักเบา
( หนัก
ตรงกันข้ามกับ เบา) หมายความว่า งานทุกประเภทคู่คำที่มีความหมายต่างกัน
มักจะได้คำใหม่ที่มีเค้าความหมายเดิมเหลืออยู่ เช่น ลูกเมีย หมายความว่า ครอบครัว พี่ป้าน้าอา
หมายความว่า ยาก ข้าวปลา หมายความว่า อาหาร ข้าวของเครื่องใช้
หมายความว่า เครื่องอุปโภคบริโภค รถไฟ
หมายความว่า รถทีเดินทางได้ด้วยพลังงานจากไฟหรือความร้อน เรือบิน,
เครื่องบิน
หมายความว่า ภาชนะที่บินได้อย่างนก
สำนวนโวหาร ในการแปลขั้นสูงนี้
ผู้แปลต้องรู้จักสำนวนการเขียน การใช้โวหารหลายๆแบบ มิฉะนั้นจะทำให้เข้าใจความหมายไม่ชัดเจน
บางครั้งอาจเข้าใจผิดเป็นตรงกันข้ามก็ได้ ก่อนที่จะกล่าวถึง
สำนวนโวหารแปลก ๆ และซับซ้อนใคร่จะขอกล่าวถึง ขณะเฉพาะบาง
ประการของสำนวนไทยซึ่งมักจะถูกละเลยหลงลืม จนกลายเป็นสิ่งที่เข้าใจยาก
สำหรับสังคมไทย ดังนี้ สำนวนที่ประกอบด้วยคำว่า
"ให้" ในสำนวนเช่นนี้ไม่มีความหมายเหมือนเมื่อเป็นกริยาสำคัญ (เช่น
ให้เขาไปเถอะ ให้ แปลว่าอนุญาต ครูให้รางวัลนักเรียน ให้ มาแล้วมามอบให้
ทั้งสองตัวยาเป็นกริยาสำคัญของประโยค) แต่มีความหมายอย่างอื่น ดังต่อไปนี้
1. จนกระทั่ง
เช่น ในสำนวน รับประทานให้หมด ฟังให้จบ
2. กับ
แก่ คำที่ตามหลัง "ให้" ทำหน้าที่เป็นกรรมรอง เช่น
พ่อค้าขายของให้ลูกค้า คุณพ่อซื้อของขวัญให้ลูก 3. เพื่อที่จะ
คือบอกจุดมุ่งหมายและผลของการกระทำ ในกรณีเช่นนี้ "ให้"
จะวางไว้หน้ากริยา หรือวลี ที่เป็นกริยา เช่น ฉันเอาผ้าไปให้เค้าตัดเสื้อ
ฉันจะเล่าให้เธอฟัง พูดให้ได้ยิน บอกให้รู้ จับให้มัน คั้นให้ตาย 4. เพื่อที่จะ
ให้เป็นส่วนหนึ่งของ วลีที่ทำหน้าที่ขยายกริยา ใน กรณีเช่นนี้ "ให้"
วางอยู่หน้าคำคุณศัพท์ เช่น แต่งตัวให้สบาย เรียนให้เก่ง ดูให้ดี สำนวนที่มีคำซ้ำ คำซ้ำในที่นี้หมายถึงทั้งคำ
เดียวการซ้ำกัน (ซ้ำรูป) และคำที่มีความหมายเหมือนกัน (ซ้ำความหมาย) การใช้คำซ้ำ มีทั้งดีและเสียปนกันประดุจดาบสองคม
ถ้าผู้เขียนไม่ได้ระมัดระวังจริงๆ ทั้งๆ ที่ตั้งใจให้ดีก็อาจกลายเป็นเสียไปได้ ส่วนดีของการใช้คำซ้ำ คือ 1. เพื่อความไพเราะ คำสั้น ๆ และเสียงห้วน
ถ้ามีงานทำรูปจะทำให้เสียงทอดยาว อ่อนสลวย ไม่ฟังดูห้วน
เช่น เดือดปุดๆ พูดหยก ๆ คำซ้ำเหล่านี้ถ้าอยู่โดดเดียวจะไม่ไพเราะเลย
จึงไม่มีใครใช้ นอกจากนี้ยังมีตัวอย่างคำที่ซ้ำความหมาย เช่น อยู่โดดเดี่ยว
อยู่เดียวดาย เป็นต้น 2. เพื่อให้มีความหมายอ่อนลง เช่น พูดดี ๆ นั่งเฉย ๆ
มากกใช้กับประโยคคำสั่งเพื่อคลายความบังคับลงให้กลายเป็นขอร้อง
บางครั้งการใช้คำซ้ำในกรณีเช่นนี้แสดงความไม่หนักแน่น ไม่แน่ใจไม่ปักใจ เช่น
"เห็นสีหน้าบึ้ง ๆ" สำนวนนี้มีความหมายอ่อนกว่า
"เห็นสีหน้าเค้าบึ้งตึง"
3. เพื่อให้ได้คำใหม่ ๆ ใช้ เช่น ความคิดสร้างสรรค์
หมายถึง ไม่ลอกแบบใครคิดขึ้น ได้เอง 4. เพื่อแสดงว่ามีจำนวนมาก ปริมาณมาก
หรือเป็นพหูพจน์ เช่น เด็ก ๆ มากินขนม การเดินเร็ว ๆ ทำให้เหนื่อยง่าย
พ่อมาถึงเหนื่อย ๆ อย่าเพิ่งกวนใจ ส่วนเคลียร์ของการใช้คำซ้ำรูป
และซ้ำความหมายมีอยู่อย่างเดียว คือ กลายเป็นรุ่มร่าม ฟุ่มเฟือย โดยไม่จำเป็น
การใช้คำซ้ำซ้อนนี้ แสดงฝีมือของนักเรียนหรือกวีว่าประณีตหรือหยาบ สูงหรือต่ำ
แต่ถ้าพลาด ก็กลายเป็นฟุ่มเฟือยไป เช่น ตัวอย่างสำนวนที่ดี
เหน็ดเหนื่อยเมื่อยล้า บ้านช่องห้องหอ อาคารบ้านเรือน มุ่งมาดปรารถนา ตัวอย่างสำนวนที่ฟุ่มเฟือย สำนวนต่อไปนี้ถ้าตัดคำซ้ำออกจะได้ความดังเดิม
มีความหมายไพเราะเท่าเดิม เขารวยมีเงินมาก คืนเดือนเพ็ญ พระจันทร์เต็มดวง
น้องสาวอายุน้อยกว่า
4. เพื่อแสดงว่ามีจำนวนมาก
ปริมาณมาก หรือเป็นพหูพจน์ เช่น เด็ก ๆ มากินขนม การเดินเร็ว ๆ ทำให้เหนื่อยง่าย
พ่อมาถึงเหนื่อย ๆ อย่าเพิ่งกวนใจ ส่วนเคลียร์ของการใช้คำซ้ำรูป
และซ้ำความหมายมีอยู่อย่างเดียว คือ กลายเป็นรุ่มร่าม ฟุ่มเฟือย โดยไม่จำเป็น
การใช้คำซ้ำซ้อนนี้ แสดงฝีมือของนักเรียนหรือกวีว่าประณีตหรือหยาบ สูงหรือต่ำ
แต่ถ้าพลาด ก็กลายเป็นฟุ่มเฟือยไป เช่น ตัวอย่างสำนวนที่ดี
เหน็ดเหนื่อยเมื่อยล้า บ้านช่องห้องหอ อาคารบ้านเรือน มุ่งมาดปรารถนา ตัวอย่างสำนวนที่ฟุ่มเฟือย
สำนวนต่อไปนี้ถ้าตัดคำซ้ำออกจะได้ความดังเดิม มีความหมายไพเราะเท่าเดิม
เขารวยมีเงินมาก คืนเดือนเพ็ญ พระจันทร์เต็มดวง น้องสาวอายุน้อยกว่า สำนวนที่มีคำแทรก เป็นลักษณะของคำสำนวนไทยที่อ่อนโยน ทำให้คำที่สั้นห้วนนั้นสลวยขึ้น
เช่น ว่าง่าย-ว่านอนสอนง่าย ใจกว้าง-ใจคอกว้างขวาง
โวหารภาพพจน์ โวหารที่นักแปลจำเป็นต้องทำความเข้าใจให้ถ่องแท้คือ
โวหารภาพพจน์ (Figures of Speech) ทั้งนี้เพราะนักเขียนหรือกวีมักจะสร้างภาพพจน์อย่างกว้างขวางสลับซับซ้อน
ถ้าผู้อ่านมีประสบการณ์น้อยก็จะขึ้นไม่ถึงตามไม่ทัน
และไม่เข้าใจจนบางครั้งเหมาว่ากวีโง่ไปเลยก็มี ผู้อ่านควรวางใจเป็นกลาง
และศึกษาแนวคิดในการใช้โวหารภาพพจน์ ซึ้งผู้เขียนทั้งเก่าใหม่
ทุกชาติทุกภาษาใช้ร่วมกัน ดังนี้
1. โวหารอุปมา
(Simele) คือ การสร้างภาพพจน์ด้วยการเปรียบเทียบ
โดยมีจุดมุ่งหมายจะชี้แจงอธิบาย พูดพาดพิงถึง หรือเสริมให้งดงามขึ้น
โวหารแบบนี้จะเป็นวลีสั้น ๆ หรือทั้งประโยค หรือเป็นโครงกลอนทั้งบทก็ได้ เช่น หน้าแจ่ม ดัง ดวงจันทร์วันเพ็ญ ขาว เหมือน หิมะ ดำ อย่าง นิล 2. โวหารอุปลักษณ์ (Metaphor) คือ การเปรียบเทียบความหมายโดยนำ
ความเหมือนและไม่เหมือนของสิ่งที่จะเปรียบเทียบมากล่าว
การเปรียบเทียบแบบนี้แสดงความเก่งของกวี เพราะกวี จะเลี่ยงการใช้คำพื้นๆ
ไปสู่คำใหม่ที่น่าตื่นตาตื่นใจกว่า เช่น วัยไฟ
(วัยรุ่น) วินัยเหล็ก (วินัยที่ต้องปฏิบัติอย่างเข้มแข็ง) 3. โวหารเย้ยหยัน (Irony) คือ
การใช้คำด้วยอารมณ์ขัน เพื่อยั่วล้อ เย้ยหยัน หรือชี้ให้เห็นข้อบกพร่อง
ดังนั้นความหมายที่แท้จริงคือฉลาดนั้นเอง นักปราชญ์ผู้หนึ่งคือโสคราติส (Socrates)
ได้เริ่มการถากถาง
เหน็บแนบตัวเอง และหัวเราะเยาะเย้ยจุดอ่อนของตัวเอง ดังนั้นวิธีพูดหรือเขียน
โดยยกตัวอย่างเป็นเป้าล้อ จึงเรียกว่า โวหารเย้ยหยันแบบโสคราติ 4. โวหารขัดแย้ง
(Contrast หรือ Antitheses) การใช้คำที่มีความหมายตรงกันข้ามกัน
มาเรียงต่อกันโดยรักษาสมดุลไว้ เช่นรักษาให้จำนวนคำเท่ากันทั้งสองฝ่าย 5. โวหารที่ใช้ส่วนหนึ่งแทนทั้งหมด
(Metonymy) ได้แก่การนำคุณสมบัติเด่น ๆ
ของสิ่งใดสิ่งหนึ่งมาใช้แทนที่จะเอ่ยนามสิ่งนั้นออกมาตรงๆ
รวมทั้งส่วนประกอบของสิ่งของและของใช้ประจำของบุคคลโดยไม่กล่าวชื่อของสิ่งของหรือบุคคลนั้น
ๆ เช่น ปากกาคมกว่าดาบ (ปากกาเป็นของใช้ประจำของนักเรียน
ดาบเป็นของใช้ประจำของนักรบโบราณ) 6. โวหารบุคลลาธิษฐาน (Personification) คือการนำสิ่งต่างๆ
ที่ไม่มีชีวิต รวมทั้ง ความคิด การกระทำ และนามธรรมอื่นๆ มากล่าวเหมือนเป็นบุคคล 7. โวหารที่กล่าวเกินจริง
(Hyperbole) โวหารเช่นนี้มีจุดประสงค์ที่จะเน้นให้เห็นความสำคัญ
ชีให้ชัดเจนและเด่น และใช้เพื่อแสดงอารมณ์ที่รุนแรง มิได้ต้องการอธิบายข้อเท็จจริง
ลักษณะที่ดีของสำนวนโวหาร ในหนังสือที่แต่งดี มักจะประกอบด้วย
สำนวนโวหารที่มีลักษณะดังต่อไปนี้ 1. ถูกหลักภาษา คือ ไม่ขัดกับหลักไวยากรณ์
ถึงจะพลิกแพลง ไม่ตรงไปตามหลักเกณฑ์ ก็ไม่ถึงกับเปลี่ยนจากหน้ามือเป็นหลังมือ
สำนวนที่เล่นลิ้น เล่นคำ ถ้าผิดหลักภาษาเสียแล้ว ทำให้ผู้อ่านเข้าใจผิด เช่น
สุนัขฉันกัด การเรียงคำเช่นนี้ผิดระเบียบการเรียบเรียงคำให้ความหมายผิดไป
แต่บางสำนวนกลับฟังดูกะทัดรัดดี เช่น "ตังค์แม่กินเหล้าหมดแล้ว" 2. ไม่กำกวม สำนวนโวหารที่ดีจะชัดเจน แม่นตรง
ไม่ชวนให้เข้าใจไขว้เขว 3. มีชีวิตชีวา คือ ไม่นาบนาบ เฉื่อยชา
ชวนให้ผู้อ่านรู้สึกกระตือรือร้น อยากอ่านต่อจนจบวางไม่ลง 4. สมเหตุสมผล น่าเชื่อถือ มีเหตุผลรอบคอบ ไม่อคติ
ไม่ทราบความหลงผิดให้แก่ผู้อ่าน 5. คมคายเฉียบแหลม คือ การใช้คำพูดที่เข้มข้น หนักแน่น
แฝงข้อคิดที่ฉลาด โดยใช้ถ้อยคำไม่กี่คำ สำนวนแบบนี้มักจะได้แก่สุภาษิต คำคม
คำพังเพย เช่น น้ำขุ่นไว้ใน น้ำใสไว้นอก
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น