วันพฤหัสบดีที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

หลักการแปลวรรณกรรม (8/02/2559)



วรรณกรรม หมายถึง หนังสือที่แต่งขึ้นด้วยความคิดสร้างสรรค์ไม่ว่าจะใช้วิธีร้อยแก้วหรือร้อยกรอง ไม่ว่าจะเป็น ผลงานของกวีโบราณหรือ ปัจจุบัน   ซึ่งคงจะรวมถึงสิ่งที่เราเรียกว่า  วรรณคดี”  ด้วย งานแปลบันเทิงคดีมีหลายชนิด    อาทิเช่น  งานแปล นวนิยาย  เรื่องสั้น  นิทาน  นิยาย บทละคร การ์ตูน  บทภาพยนตร์ บทเพลง ซึ่งเป็นวรรณกรรมที่ผู้อ่านมุ่งหวังจะได้รับความบันเทิงเพลิดเพลิน ส่วนที่จะค้นคว้าความรู้นั้นเป็นประเด็นรอง  การแปลวรรณกรรมสิ่งที่สำคัญที่สุด คือ การรักษาความหมายเดิมไว้ให้ครบถ้วนถูกต้องไม่เปลี่ยนแปลง การักษาความหมายเดิมเป็นหัวใจของการแปลงาน  บันเทิงคดี ผู้แปลต้องใช้ศิลปะที่ละเอียดลึกซึ้ง เพราะงานแปลเช่นนี้เป็นงานศิลปะอย่างแท้จริง    
หลักในการแปล นวนิยายนั้นมีขั้นตอนต่างๆ เพื่อให้ได้มาซึ่งงานแปลที่มีคุณภาพ ประกอบด้วยขั้นตอนต่างๆ ดังนี้ขั้นตอนที่หนึ่ง การแปลชื่อเรื่องของวรรณกรรม มีความสำคัญเป็นอันดับแรก  เพราะผู้แต่งได้พิถีพิถันตั้งชื่องานอย่างดีที่สุด  การแปลชื่อเรื่อง นั้นมีหลักการแปลอยู่ 4 แบบ คือ แบบที่ 1 ไม่แปล แต่ใช้ชื่อเดิมด้วยวิธีการถ่ายทอดเสียง หรือถ่ายทอด ตามตัวอักษร (ทับศัพท์) แบบที่ 2 แปลตรงตัว ถ้าชื่อต้นฉบับมีความสมบูรณ์ครบถ้วนก็จะใช้วิธีแปลตรงตัวโดยการรักษา คำและความหมาย แบบที่ 3 แปลบางส่วนดัดแปลงบางสัตว์ จะใช้วิธีนี้ต่อเมื่อชื่อต้นฉบับไม่น่าดึงดูดและสื่อความหมายไม่ เพียงพอ แบบที่ 4 ตั้งชื่อใหม่โดยการตีความชื่อเรื่องและเนื้อเรื่อง ผู้แปลต้องวิเคราะห์ชื่อเรื่องและเนื้อเรื่องจนสามารถจับ  ประเด็นของเรื่องและจุดประสงค์ของเรื่องได้ จึงสามารถตั้งชื่อใหม่ที่ดีได้ 
ขั้นตอนที่สอง การแปลบทสนทนา เป็นสิ่งที่ยุ่งยากที่สุด เพราะใช้ภาษาพูดหลายระดับแตกต่างกันตาม สถานภาพทางสังคมของผู้พูด เช่น คำทักทาย คำอำลา คำแสดง การตัดถ้อยคำให้สั้นลง  กลักการที่สำคัญที่สุดคือ แปลให้เป็นธรรมชาติ ขั้นตอนที่สาม คือ การแปลบท บรรยาย  ถ้าวิเคราะห์ภาษาในบทบรรยายแล้ว จะพบความยุ่งยากเกิดจาก ภาษาสองประเภท คือ  ภาษาในสังคม  และ ภาษาวรรณคดี ขั้นตอนในการแปลวรรณกรรม ควรปฏิบัติดังนี้  1. อ่านเรื่องราวให้เข้าใจโดยตลอด สามารถจับใจความสำคัญ ย่อความเนื้อเรื่อง จับประเด็นของเรื่องได้ ฯลฯ  2.วิเคราะห์ถ้อยสำนวน ค้นหาความหมายของคำศัพท์ที่ไม่เคยรู้จัก ค้นหาความกระจ่างของข้อความที่ไม่เข้าใจ 3. ลงมือแปลด้วยถ้อยคำที่เรียบง่าย อ่านแล้วเข้าใจง่าย และชัดเจน
                หลักการแปลบทละคร  คือการแปลวรรณกรรมการแสดง ซึ่งดำเนินการแปลเช่นเดียวกับการแปลเรื่องสั้น            นวนิยาย นิทาน นิยาย คือเริ่มด้วยการอ่านต้นฉบับเพื่อความเข้าใจให้ตลอดตั้งแต่ต้นจนจบก่อน หาความหมายและคำแปลแล้วจึงเขียนบทแปลด้วยภาษาที่เหมาะสม การอ่านต้นฉบับบทละคร อ่านหลายๆครั้ง  ครั้งแรก เพื่อทำความเข้าใจ โดยตั้งคำถามว่า  ใคร  ทำอะไร  ที่ไหน  อย่างไร  เมื่อใด  ครั้งต่อไปคือค้นหาความหมาย  หลักการแปลบทภาพยนตร์ โดยจุดประสงค์ของการแปลมีสองประการคือ  1.นำบทแปลไปพากย์ หรืออัดเสียงในฟิมล์ ผู้แปลต้องระวังความจำกัดตาจังหวะขยับริมฝีปากของผู้แสดงเท่าทีปรากฏเท่าที่ปรากฏให้เห็นในภาพ  2.นำบทแปลไปเขียนคำบรรยายในฟิมล์ดั้งเดิม บทแปลจะจำกัดด้วยเนื้อที่ในฟิมล์ให้พอเหมาะกับกรอบภาพ
                วิธีการแปลบทภาพยนตร์ มีขั้นตอนดำเนินการเช่นเดียวกับการแปลบนละคร และการ์ตูน ซึ่งต้องอ่านทั้งข้อความ  ภาพ และฉากพร้อมๆ กันโดยมีสัมพันธภาพต่อกัน หลักการแปลนิทาน นิยาย นั้นตามหลักวิชาวรรคดีสากล มีชื่อต่างๆ เรียกนิทาน นิยาย เรื่องเล่าดังนี้  Tale  หมายถึงเรื่องเล่าที่แต่งขึ้น ไม่จะร้อยแก้วหรือร้อยกรอง เนื้อเรื่องธรรมดาแต่ใช้การเล่าเรื่องที่แปลก,  Myth  หมายถึงเรื่องเล่าที่รู้จักกันมาแต่โบราณ เนื้อเรื่องมักจะเกี่ยวกับความเชื่อทางศาสนา ปาฏิหาริย์ ของพระเจ้า เทพเจ้า วีรบุรุษ พลังลึกลับของธรรมชาติ, Fable หมายถึงเรื่องเล่าสั้นๆ ที่มุ่งแสดงให้เห็นสัจธรรม, Fabliau หมายถึงเรื่องเล่าสั้นๆ ที่แต่งเป็นร้อยกรอง สามารถนำมาร้องเป็นเพลงได้ เนื้อเรื่องกล่าวถึงเหตุการณ์ธรรมดาสามัญใน ชีวิต, Fairy Tales หมายถึงนิทานประเภทหนึ่งใน  Myth ซึ่งเน้นเรื่องเกี่ยวกับเทพเจ้า เทพยดา ภูตผีปีศาจ  วิญญาณ, Legend  เดิมหมายถึงเรื่องราวชีวิตนักบุญซึ่งนำมาอ่านดังๆ ให้สามัญชนรู้ ต่อมา ได้ขยายความหมายกว้างออกไป ครอบคลุมถึงชีวิตบุคคลธรรมดา

                หลักการแปลกวีนิพนธ์สำหรับกวีนิพนธ์นั้นจะมีความหมายเพื่อเล่าเรื่อง ให้ความรู้และสอนศีลธรรมพร้อมทั้งให้ความเพลิดเพลินอีกด้วย ซึ่งลักษณะของการแปลจะมี สองลักษณะ ลักษณะแรกคือ การแปลเป็นร้อยกรอง จะต้องแปลเนื้อหา พยายามเล่นคำ เล่นความหมายให้เหมือนกับต้นฉบับมากที่สุด ทุกบททุกตอน พร้อมทั้งจะต้องยึดรูปแบบของฉันทลักษณ์ด้วย หรือถ้าไม่สามารถยึดได้เพราะเกิดจากความแตกต่างของภาษา ก็จะต้องพยายามยึดฉันทลักษณ์ให้ใกล้เคียงมากที่สุด และอีกลักษณะของการแปลนั้นคือการแปลเป็นร้อยแก้ว เราจะแปลเป็นร้อยแก้วก็ต่อเมื่อมีจุดประสงค์เพื่อสื่อสารความคิดและวัฒนธรรมอื่นๆในบทกวีนิพนธ์ ซึ่งปัญหาของการแปลด้านนี้คือความเข้าใจและการเลือกใช้ถ้อยคำสำนวน ดังนั้นผู้แปลจะต้องเข้าใจและมุ่งเน้นความรู้สึกของกวีนิพนธ์ได้อย่างถูกต้องพร้อมทั้งใช้ถ้อยคำให้เหมาะสมกับระดับของภาษาและสั้นกะทัดรัดให้ตรงตามรูปแบบของฉันทลักษณ์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น