วันพฤหัสบดีที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

โครงสร้างพื้นฐานของประโยค (29/02/2559)

               
                 ถ้าพูดถึงการแปลแล้วสิ่งที่สำคัญอันดับต้นๆ ก็คือ กระบวนการแปล แต่ยังมีอีกประเด็นที่ผู้แปลต้องคำนึงถึง เนื่องจากมีความสำคัญกับงานแปลเช่นกัน สิ่งนั้นก็คือโครงสร้างพื้นฐานของประโยค ซึ่งประโยคภาษาอังกฤษสามารถกระจายออกเป็นรูปโครงสร้างพื้นฐานได้ทั้งนั้น เพื่อที่จะทำให้ประโยคเหล่านั้นถูกต้องตามหลักของ pragmatic อ่านแล้วเข้าใจได้ง่าย มีความหมายที่ชัดเจน มีใจความสมบูรณ์ มีภาษาที่สละสลวย ไม่ซับซ้อน ดังนั้นโครงสร้างพื้นฐานของประโยคจึงมีความสำคัญต่อกระบวนการแปล ซึ่งโครงสร้างพื้นฐานของประโยคนั้นสามารถแบ่งรูปแบบได้ถึง 25 รูปแบบ ซึ่งแต่ละรูปแบบจะมีลักษณะของประโยคแตกต่างกันเช่นกัน
                ถ้าแยกข้อความออกเป็นหน่วยประโยคที่สั้นและเล็กที่สุดตามลักษณะของประโยคโครงสร้างพื้นฐานแต่ละแบบแล้วนั้นจะช่วยให้เราวิเคราะห์ความหมายได้ชัดเจนดียิ่งขึ้น ดังนั้น ฮอร์นบีและคณะได้แยกประโยคพื้นฐานไว้ใน The Advanced Learner’s Dictionary of Current English ไว้ 25 แบบ โดยจะยึดหลักตามหน้าที่และความนิยมใช้ในการใช้คำกริยาเป็นหลัก เรียกว่า กระสวนหรือแบบของคำกริยา (verb pattern) ส่วนไนดาและเทเบอร์ ได้แยกประโยคพื้นฐานของภาษาอังกฤษไว้ 7 แบบ ซี่งเรียกว่า ประโยคแก่น (Kernel sentence) และ สเตจเบอร์ก ( Stageberg) แยกประโยคพื้นฐานที่เรียกว่า ประโยคเปลือย (Bare sentence) ซึ่งต่อไปนี้จะเป็นการยกตัวอย่างของโครงสร้างประโยคพื้นฐานของฮอร์นบีและไนดา ดังรูปภาพดังต่อไปนี้


                ประโยคภาษาอังกฤษสามารถกระจายออกเป็นรูปโครงสร้างพื้นฐานนั้นสามารถแบ่งรูปแบบได้ถึง   25 รูปแบบ ซึ่งแต่ละรูปแบบจะมีลักษณะของประโยคแตกต่างกันเช่นกันทั้งนั้นเพื่อที่จะทำให้ประโยค เหล่านั้นถูกต้องตามหลักของ pragmatic อ่านแล้วเข้าใจได้ง่าย มีความหมายที่ชัดเจน มีใจความสมบูรณ์        มีภาษาที่สละสลวย ไม่ซับซ้อน ดังนั้นผู้แปลควรตระหนักว่า โครงสร้างพื้นฐานของประโยคนั้นมี ความสำคัญกับงานแปลเป็นอย่างมาก เพราะหากผู้แปลไม่มีความรู้หรือความเชี่ยวชาญในด้านโครงสร้างพื้นฐาน ก็อาจทำให้งานแปลนั้นผิดเพี้ยนออกไป ดังนั้นผู้แปลที่ดีควรจะรู้และเข้าใจโครงสร้างพื้นฐานของประโยค เพื่อทำให้งานแปลที่ได้นั้นถูกต้อง สมบูรณ์ และมีเนื้อห้าครบถ้วนตามต้นฉบับ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น