จากการเรียนรู้ในครั้งนี้ได้เรียนรู้เกี่ยวกับ Text types ซึ่ง Text คืองานเขียนชิ้นหนึ่งๆ ชนิดของงานเขียนนั้นมีอยู่ด้วยกันหลายประเภท
ซึ่งแต่ละชนิดของงานเขียนนั้นจะมีจุดมุ่งหมายแตกต่างกัน อาทิ เช่น เป็นการแสดงความคิด
ความรู้สึก ความรู้ ชักชวน จูงใจให้เห็นด้วย รูปแบบการเขียนมีหลายรูปแบบ
แตกต่างกันไปตามจุดประสงค์ของงานเขียนนั้นเช่นกัน สามารถแบ่งได้ดังนี้ Descriptive
writing, Narrative writing, Recount, Discussion, Exposition or Argument, Procedure,
Information report, Explanation และ Personal
Response
ประเภทที่
1 การเขียนแบบบรรยาย ( Descriptive
writing) ในการเขียนเรียงความเชิงพรรณนา จะต้องถ่ายทอดหรือบรรยาย ให้เห็นลักษณะของคน สัตว์ สิ่งของ สถานที่ หรือแม้แต่ประสบการณ์ต่างๆ ประเภทที่ 2 การเขียนเล่าเรื่อง
( Narrative writing) เป็นการบอกเรื่องราวเกี่ยวกับประสบการณ์ส่วนบุคคลรวมทั้งเกี่ยวกับผู้อ่านด้วยการอธิบายข้อมูล
และเป็นการเล่าเรื่องราวที่เป็นจริงหรือแต่งขึ้น ประกอบด้วย
การเล่าเรื่องชีวประวัติ ของบุคคลต่างๆ เป็นการเล่าเรื่องเกี่ยวกับประสบการณ์สำคัญของชีวิตบุคคล
การเล่าเรื่องที่เป็นบันเทิงคดี (Fictional
narrative) เป็นการเล่าเรื่องที่ผู้เขียนแต่งขึ้น และการเล่าเรื่องส่วนบุคคล (Personal
narrative) เป็นการเล่าเรื่องเกี่ยวกับประสบการณ์สำคัญในชีวิตของผู้เขียน
งานเขียนอธิบาย (Expository) เป็นข้อเขียนที่อธิบายหรือบอกถึงสารสนเทศ
ประกอบด้วย เรียงความเปรียบเทียบความเหมือนและความต่าง (Compare-contrast essay) เป็นข้อเขียนที่แสดงถึงความคล้ายคลึงและความแตกต่างระหว่างสิ่งสองสิ่ง
ประเภทที่
3 งานเขียนที่เป็นสารสนเทศ (Information
report) เป็นข้อเขียนที่ให้สารสนเทศตามลำดับที่เป็นเหตุผลเป็นการรายงานข้อมูล
จะระวังในเรื่องของการวางแผนดำเนินเรื่อง แต่ละเนื้อหาจะเชื่อโยงกันเป็นพารากราฟ
ใช้ present tense ในการแต่งประโยค ประเภทที่ 4 Procedure เป็นการเขียนที่เน้นการดำเนินงานเป็นขั้นตอนหรือสร้างขั้นตอน ต่อมาคือ diary extract เป็นการเขียนประสบการณ์ของแต่ละบุคคล
แสดงความคิดเห็นรวมทั้งอารมณ์ ความรู้สึก
Explanation เป็นการเขียนเชิงอธิบาย
เช่น การอธิบายตาราง การอธิบายกราฟ
ในการเขียนจะต้องเขียนให้ชัดเจนเข้าใจง่ายมีการเชื่อมประโยค เชื่อมคำ
มีเหตุมีผลและมีการเปรียบเทียบ ต่อมาเป็นดารเขียนแบบ personal response ซึ่งเป็นการเขียนบรรยายบุคคล
แสดงถึงความประทับใจว่าเราประทับใจอะไรในตัวเขา หรือ
ไม่เพียงแต่บรรยายได้แค่ตัวบุคคลเท่านั้น ยังเป็นการบรรยายเกี่ยวกับสถานที่ งาน
หนังในโรงภาพยนตร์ว่าเราประทับใจส่วนไหน ซึ่งรูปแบบของการเขียนนั้นไม่จำเป็นต้องเป็นทางการการวิเคราะห์วิจารณ์งานเขียน
(Response to literature) เป็นข้อเขียนที่กล่าวถึง การสำรวจตรวจสอบเกี่ยวกับแก่นของเรื่อง (Theme) โครงเรื่อง (Plot)
ตัวละครและด้านอื่นๆของบทในหนังสือ
สรุปได้ว่าประเภทของงานเขียนนั้นมีความหลากหลายแตกต่างกันไปตามจุดประสงค์หรือสิ่งที่ผู้เขียนนั้นต้องการสื่อหรือถ่ายทดอออกมา
ดังนั้นผู้แปลควรทำความเข้าใจและวิเคราะห์ว่างานแปลนี้เป็นการเขียนประเภทใด
เพื่อที่จะให้ได้งานแปลที่ดี มีคุณภาพ และมีเนื้อหาครบถ้วนสมบูรณ์ตามต้นฉบับหรือสอดคล้องกับสิ่งที่ผู้เขียนต้องการจะถ่ายทอด
อยากรู้ว่าประเภทข้างต้น เป็นทฤษฎีของใคร หรืออ้างอิงมาจากบทความของใครหรอคะ
ตอบลบ