วันพฤหัสบดีที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

หลักเกณฑ์การถอดอักษรไทยเป็นโรมันแบบถ่ายเสียง (1/02/59)






ในการแปลจากภาษาต้นฉบับเป็นภาษาเป้าหมายนั้น มีหลักเกณฑ์การถ่ายถอดอักษรไทยเป็นโรมัน เป็นการถอดโดยวิธีถ่ายเสียง ( Transcription ) เพื่อให้อ่านคำภาษาไทยที่เขียนด้วยอักษรโรมันให้ได้เสียงใกล้เคียง โดยไม่คำนึงถึงการสะกดการันต์และวรรณยุกต์
1. ตารางเทียบเสียงพยัญชนะและเสียงสระ


























2. ความหมายของคำประเภทที่ 1 หน่วยคำ หมายถึง หน่วยที่เล็กที่สุดและมีความหมาย อาจมีเพียงพยางค์เดียวหรือหลายพยางค์ก็ได้ ประเภทที่ 2 คำ หมายถึง หน่วยคำ  1 หน่วยคำ หรือมากกว่านั้น  ประเภทที่ 3 คำประสม หมายถึง หน่วยคำตั้งแต่ 2 หน่วยคำขึ้นเมื่อรวมกันแล้วมีความความหมายใหม่หรือความหมายเพิ่มขึ้นจากเดิม  ประเภทที่ 4 คำสามานยนาม มีอยู่สองประเภทคือ 1. คำนามทั่วไป เช่น พระ คน แมว นก 2. ชื่อภูมิศาสตร์ คือ คำนามทั่วไปที่บอกลักษณะภูมิประเภทตามธรรมชาติ เช่น ภูเขา ควน แม่น้ำ ตำบล หมู่บ้าน  
ประเภทที่ 5 คำวิสามานยนาม  มีสองประเภทด้วยกันคือ 1. ชื่อบุคคล เช่น สมหญิง สมทรง ขจรศักดิ์  2.ชื่อสถานที่และองค์กร เช่น วัดดวงเข  โรงเรียนสตรีวิทยา วังศุโขทัย  ประเภทที่ 6 คำนำหน้านาม หมายถึง คำที่อยู่หน้าวิสามานยนาม เช่น พระอิสริยยศ ฐานันดรศักดิ์ ยศ คำนำหน้าบุคคลทั่วไป รวมทั้งคำนำหน้าชื่อที่บอกลักษณะ สถานภาพของวิสามานยนามนั้นๆ เช่น  พระเจ้าวรวงศ์เธอ ฯพณฯ  ศาสตราจารย์  นาย นาง  นางสาว เด็กชาย  เด็กหญิง ฯลฯ  ประเภทที่ 7 คำทับศัพท์ หมายถึง คำภาษาต่างประเทศที่เขียนด้วยตัวอักษรไทย อาจเป็นคำสามานยนาม เช่น คอมพิวเตอร์ เทคโนโลยี ฟุตบอล หรือคำวอสามานยนาม เช่น แปซิฟิก เมดิเตอร์เรเนี่ยน ยูเนสโก


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น