ความแตกต่างทางโครงสร้างของภาษาไทย
กับภาษาอังกฤษที่มีผลต่อการแปล
คำว่า โครงสร้าง ตรงกับภาษาอังกฤษ (structure) เมื่อเรากล่าวว่า
ภาษามีโครงสร้าง ประกอบด้วยส่วนต่างๆ
มากมายและส่วนประกอบเหล่านี้เรียงตัวกันเป็นระบบ ภาษามีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกันและมีกกหรือระเบียบของความสัมพันธ์ดังกล่าวด้วย
โครงสร้างเป็นสิ่งสำคัญมากในการเรียนรู้ภาษาหรือการใช้ภาษา
โครงสร้างเป็นสิ่งที่บอกว่าจะนำคำศัพท์ที่รู้มาประกอบหรือเรียงกันอย่างไร ในการแปล
ผู้แปลมักนึกถึงศัพท์ เช่นเมื่อแปลไทยเป็นอังกฤษก็มักหาศัพท์ที่เทียบเท่าภาษาไทย
ถ้าหากได้ก็คิดว่าไม่มีปัญหา ถ้าไม่ได้ก็จะเกิดปัญหา
ปัญหาที่สำคัญและลึกซึ้งกว่านั้นคือ ปัญหาทางโครงสร้าง
นักแปลผู้ใดก็ตามที่ถึงจะรู้ศัพท์แต่หากไม่เข้าใจความสัมพันธ์ของศัพท์เหล่านั้นก็มีโอกาสล้มเหลวได้เพราะอาจตีความหรือถ่ายทอดผิดได้
1.ชนิดของคำและประเภททางไวยากรณ์ที่สำคัญ
ชนิดของคำ เป็นสิ่งสำคัญในโครงสร้าง
เพราะเมื่อสร้างประโยคเราต้องนำคำมาเรียงกันให้เกิดความหมายที่ต้องการสื่อสาร ประโยคจะถูกไวยากรณ์เมื่อเราใช้ชนิดของคำตรงกับหน้าที่ทางไวยากรณ์ อย่างไรก็ตาม การคำนึงถึงชนิดของคำนั้นยังไม่พอ
ต้องคิดด้วยว่าเวลานำไปใช้จริง
คำชนิดนั้นเกี่ยวพันกับประเภททางไวยากรณ์อะไรบ้างในภาษานั้นๆ
ประเภททางไวยากรณ์ หมายถึงลักษณะสำคัญในไวยากรณ์
ของภาษาใดภาษาหนึ่ง ซึ่งมักสัมพันธ์กับชนิดของคำ ประเภททางไวยากรณ์ที่สำคัญสำหรับการเทียบภาษาไทยกับภาษาอังกฤษโดยจะเรียงลำดับตามชนิดของคำที่เกี่ยวข้อง
1.1 คำนาม
เมื่อเปรียบเทียบคำนามในภาษาไทยกับภาษาอังกฤษ
พบว่าในภาษาอังกฤษเป็นลักษณะที่ไม่สำคัญหรือไม่มีตัวบ่งชี้ในภาษาไทย ได้แก่ บุรุษ
(person), พจน์ (number), การก (case), ความชี้เฉพาะ (definiteness), ความเข้าใจเกี่ยวกับลักษณะเหล่านี้จะช่วยในการแปลอย่างมาก
1.1.1 บุรุษ (person)
บุรุษ เป็นประเภททางไวยากรณ์ที่บ่งบอกว่าคำนานมหรือสรรพนามที่นำมาใช้ในประโยคหมายถึงผู้พูด
(บุรุษที่ 1) ผู้ที่ถูกพูดด้วย (บุรุษที่ 2) หรือผู้ที่ถูกพูดถึง
(บุรุษที่ 3)
1.1.2 พจน์ (number)
พจน์ เป็นประเภททางไวยากรณ์ที่บ่งบอกจำนวน ว่าเป็นจำนวนเพียงหนึ่ง
หรือจำนวนมากกว่าหนึ่ง
1.1.3 การก (case)
การก
คือประเภททางไวยากรณ์ของคำนามเพื่อบ่งชี้ว่าคำนามนั้นเล่นบทบาทอะไร
คือสัมพันธ์กับคำอื่นในประโยคอย่างไร เช่นเป็นประธาน กรรม สถานที่ เป็นต้น
ภาษาต่างกันมีการแสดงการกด้วยวิธีต่างกัน
1.1.4 นามนับได้ กับ นามนับไม่ได้ (countable and uncountable nouns)
คำนามในภาษาอังกฤษต่างจากภาษาไทยในเรื่องการแบ่งเป็น นามนับได้ และ
นามนับไม่ได้ ผู้พูดภาษาอังกฤษทุกคนแยกความแตกต่างระหว่างคำนาม เช่น cat, house, book กับคำนาม
เช่น hair, water, sugar ความแตกต่างดังกล่าวนี้แสดงโดยการใช้ตัวกำหนด
a/an กบนามนับได้ที่เป็นเอกพจน์
และเติม –s ที่นามนับได้พหูพจน์ ส่วนนามนับไม่ได้ต้องไม่ใช้ a/an และไม้องเติม –s ดังตัวอย่างต่อไปนี้
นับได้ (เอกพจน์) นับได้
(พหูพจน์)
a cat cats
a house houses
a egg eggs
นามนับไม่ได้
(ไม่แยกเอกพจน์-พหูพจน์ ถ้าแยกจะผิดไวยากรณ์)
Hair (*a
hair, *hairs)
Water (*a
water, *waters)
Sugar (*a
sugar, *sugar)
ในภาษาไทย
คำนามทุกคำนับได้ เพราะเรามีลักษณะนามบอกจำนวนของ
ทุกสิ่งได้ เช่น
แมว 1 ตัว แมว
7 ตัว
บ้าน 1 หลัง บ้าน
3 หลัง
1.1.5 ความชี้เฉพาะ (definiteness)
ประเภททางไวยากรณ์อีกประเภทหนึ่งที่มีความสำคัญในภาอังกฤษ
แต่ไม่สำคัญในภาษาไทย ได้แก่ ความแตกต่างระหว่างนามชี้เฉพาะ กับ นามไม่ชี้เฉพาะ
การแยกความแตกต่างระหว่างชี้เฉพาะกับไม่ชี้เฉพาะนี้ไม่มีในภาษาไทย
จึงอาจเป็นเรื่องยากที่จะเข้าใจสำหรับคนไทย
1.2
คำกริยา
เป็นหัวใจของประโยค การใช้กริยาซับซ้อนกว่าคำนาม
เพราะมีบางประเภททางไวยากรณ์ต่างๆเข้ามาเกี่ยวข้องหลายประเภท เช่น กาล การณ์ลักษณะ มาลา วาจก
และความแตกต่างของกริยาแท้หรือไม่แท้
1.2.1
กาล (tense)
คำกริยาในภาษาอังกฤษต้องแสดงกาลเสมอว่าเป็นอดีต ปัจจุบัน หรือ อนาคต
1.2.2 การณ์ลักษณะ (aspect)
หมายถึงลักษณะของการกระทำ หรือเหตุการณ์ เช่นการดำเนินอยู่ของเหตุการณ์
การเสร็จสิ้นของการกระทำ การเกิดซ้ำของเหตุการณ์ เป็นต้น ในภาษาอังกฤษ การณ์ลักษณะที่สำคัญ ได้แก่
การณ์ลักษณะต่อเนื่อง หรือ การณ์ลักษณะดำเนินอยู่ (continuous aspect) ซึ่งแสดงโดย V. to be + present participle (–ing) และการณ์ลักษณะเสร็จสิ้นแล้ว แสดงโดย V. to have + past participle ในภาษาไทย เหตุการณ์
ที่ต่อเนื่องหรือกำลังดำเนินอยู่แสดงด้วยคำว่า “กำลัง”
หรือ “อยู่” หรือใช้ทั้งคู่ส่วนการณ์ลักษณะที่เสร็จสิ้นแสดงโดยคำว่า
“แล้ว”
1.2.3 มาลา (mood)
มีหน้าที่แสดงว่าผู้พูดมีทัศนคติอย่างไร
ในภาษาไทยไม่มีการแสดงมาลา แต่ในภาษาอังกฤษมี เช่น ประโยคสมมติที่เป็นไปไม่ได้
ประโยคคาดคะเน กริยาจะไม่ใช้รูปธรรมดา
เช่น I wish I could fly (รูปปกติคือ
can) มาลาแสดงโดยการเปลี่ยนรูปคำกริยา
หรืออาจแสดงโดยกริยาช่วย (modal auxiliaries)
1.2.4
วาจก (voice)
ทำหน้าที่บ่งชี้ความสัมพันธ์ระหว่างประธานกับกริยา
ว่าประธานเป็นผู้กระทำ หรือ ผู้ถูกกระทำ ในภาษาไทยกริยาไม่มีการเปลี่ยนรูป
แต่ความหมายของประโยคหรือกริยาช่วย ถูก โดน ได้รับ เป็น สามารถบ่งบอกกรรมวาจกได้
1.2.4 กริยาแท้หรือไม่แท้ (finite vs. nonfinite)
กริยาในภาษาอังกฤษต่างจากภาษไทยมากในเรื่องกริยาแท้หรือไม่แท้ ในภาษา ไม่มีความแตกต่างระหว่างกริยาแท้หรือไม่แท้
กล่าวคือในประโยคไม่มีการแสดงรูปที่ต่างกัน
หรือเครื่องหมายที่เราจะระบุได้ทันทีว่าตัวไหนเป็นกริยาแท้หรือไม่
1.3 ชนิดของคำประเภทอื่น
ชนิดของคำประเภทอื่นจะมีความซับซ้อนน้อยกว่านามและกริยา
และไม่ก่อให้เกิดปัญหาในการแปลมากเท่านามและกริยา
ภาษาอังกฤษและภาษาไทยแตกต่างกันในเรื่องชนิดของคำและประเภททางไวยากรณ์ที่สำคัญหลายประการซึ่งถ้าผู้แปลมีความใจก็จะช่วยให้การแปลง่ายขึ้น
2. หน่วยสร้างที่ต่างกันในภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
2.1 นามวลี :
ตัวกำหนด (Determiner)+นาม (อังกฤษ) vs. นาม (ไทย) ในภาษาอังกฤษมีตัวกำหนดแบบบังคับ
แต่ในภาษาไทยจะมีหรือไม่มีก็ได้
2.2 การวางส่วนขยายในนามวลี : ส่วนขยาย+ส่วนหลัก(อังกฤษ) vs. ส่วนขยาย+ส่วนหลัก(อังกฤษ) ในการวางส่วนขยายมีความแตกต่างอย่างตรงกันข้ามระหว่างภาษาไทยกับภาษาอังกฤษ
2.3 หน่วยสร้างกรรมวาจก (passive con- structions ) ภาษาอังกฤษมีรูปแบบชัดเจน แต่ในภาษาไทยมีหลายรูปแบบ
2.4 (subject vs.
topic)— ประโยคในภาษอังกฤษต้องมีประธานเสมอ
แต่ประโยคในภาษาไทยไม่จำเป็นต้องมีประธาน
2.5
หน่วยสร้างกริยาเรียง (serial verb construction) มีในภาษาไทยแต่ไม่มีในภาษาอังกฤษ
สรุปท้ายสุดคือหากผู้แปลตระหนักในความสำคัญของความแตกต่างทางโครงสร้างในภาษาไทยและภาษาอังกฤษดังแสดงมาข้างต้น
ผู้แปลจะมีปัญหาในการแปลน้อยลง และผลงานที่แปลจะใกล้เคียงกับลักษณะภาษาแม่ในภาษาเป้าหมายมากที่สุด
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น