วันอาทิตย์ที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

Learning Log (14) นอกห้องเรียน

Learning Log (14) นอกห้องเรียน


จากการอบรมเชิงปฏิบัติการในหัวข้อ เทคนิคการสอนภาษาอังกฤษ แบบบูรนาการทักษะ ในวันที่ 29 ตุลาคม 2558 ในภาคบ่ายโดย ผศ.ดร.ศิตา เยี่ยมขันติถาวร จะเป็นเรื่องภาษาเพื่อการสื่อสารและกิจกรรม โดยมีเนื้อหาดังนี้ คือ ในภาษาไทยจะมีการนำภาษาอังกฤษมาใช้ทับศัพท์ในภาษาไทย อาทิ Chill  Chill แต่ที่จริงแล้วคือ chill out คำต่าง ๆ ที่ใช้กันมานานให้ความหายผิด ๆ การใช้คำศัพท์ในการสื่อความหมายที่ผิด ๆ การใช้คำศัพท์ในการสื่อความหมายที่ผิด เนื่องจากการแปลจากภาษาไทย-ภาษาอังกฤษ แบบตรงตามตัว รวมทั้งการนำเอาชื่อยี่ห้อ ชื่อแบรนด์ มาใช้เรียกสิ่งนั้น ๆ  ไปเลย อาทิ Fab = ผงซักฟอก (detergent), Pampers = ผ้าอ้อม ( diaper,happy), Mama = บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป (instant noodles) และนอกจากนี้ในภาษาอังกฤษ ก็จะมีสำนวนต่าง ๆ ในภาษาไทย เพื่อเพิ่มอรรถรสในการสนทนา แต่หากแปลตรงตัวแล้วความหมายของสำนวนที่จะต้องการสื่อก็จะผิดเพี้ยนไป และอีกทั้งปัจจัยที่ทำให้ภาษาเกิดการเปลี่ยนแปลง มีทั้ง Seif-actualization, Esteem, Social Needs, Safety and Security, Phy-siological Need (survival) และ WiFi และมียังออกสอนข้อต่าง ๆ ในภาษาอังกฤษอย่างแพร่หลาย หรือ ภาษาที่ใช้กันในอินเทอร์เน็ต เช่น การสะกดคำในรูปแบบใหม่ , มีการเชื่อมคำเข้าด้วยกัน (word combination),สร้างอักษรใหม่ขึ้นเฉพาะกลุ่ม,ลักษณะ หรือ สัญลักษณ์ต่าง ๆ ที่ใช้แทนตัวอักษร และ คำศัพท์เฉพาะ มีการสะกดคำผิด, คำแสลงต่าง ๆ ที่พบบ่อยในอินเทอร์เน็ต ทั้งนี้ครูผู้สอนจะต้องจัดการเรียนการสอน และควรหาวิธีการต่าง ๆ ที่ถูกต้องและเหมาะสมในการสอนภาษาอังกฤษ ในทุกวันนี้ให้กับตัวนักเรียน ทั้งนี้ต้องให้สอดคล้องกับตัวชี้วัดและหลักสูตรที่กำหนด และในเมื่อภาษาเป็นสิ่งที่ไม่หยุดนิ่งมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอด ครูผู้สอนควรหาวิธีการสอนต่าง ๆ ให้เหมาะสม รวมถึงการสอนเรื่อง วัฒนธรรมของเจ้าของภาษาและ การใช้ภาษารวมทั้งครอบคลุมปัญหาหรือสิ่งที่ได้กล่าวมาข้างต้น เพื่อให้ตัวผู้เรียนเกิดความเข้าใจในการใช้ภาษาอังกฤษได้มากที่สุด โดยครูผู้สอนจะต้องมีครบทั้ง ความรู้ ทักษะ คุณธรรม จริยธรรม และคุณลักษณะต่าง ๆ ของความเป็นครูอย่างครบถ้วน



        แนวการสอนภาษาเพื่อการสื่อสาร ( The Communicative Approach ) หรือ Communicative หรือ Communicative Language Teaching มุ่งเน้นความสำคัญของผู้เรียน สามารถนำความรู้ที่ได้ไปฝึกใช้ในสถานการณ์จริง การสอนที่เน้นสาระการเรียนรู้ คือ นำเนื้อหาวิชาต่าง ๆ มาบูรนาการกับจุดมุ่งหมายของการสอนภาษา การจัดการเรียนรู้แบบบูรนาการเปิดการเปิดโอกาสให้ใช้วิธีการตั้งคำถาม และกระบวนการการแก้ไขปัญหา เป็นตัวนำกระบวนการแสวงหาความรู้และทักษะ โดยไม่ยึดติดโครงสร้างชองวิชาต่าง ๆ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น