วันอาทิตย์ที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

Learning Log(6) ในห้องเรียน

Learning Log(6) ในห้องเรียน


        การเรียนรู้เป็นปัจจัยสำคัญในการพัฒนาคุณภาพมนุษย์ โดยมนุษย์นั้นจะได้เรียนรู้แต่แรกเกิดไปจนตาย ซึ่งในปัจจุบันมีช่องทาง หรือทางเลือกมากมายที่จะทำให้เกิดการเรียนรู้ การเรียนรู้ในสถานศึกษาหรือการเรียนรู้ในห้องเรียนถือว่าเป็นปัจจัยสำคัญเลยทีเดียว และคงปฏิเสธไม่ได้ว่าไม่มีผู้ใดไม่เคยเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ จากการเรียนรู้ในห้องเรียนในยุดปัจจุบัน ซึ่งการเรียนรู้ในครั้งนี้จะเป็นเรื่อง Adjective Clause ซึ่งเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับอนุประโยคประเภทหนึ่งในภาษาอังกฤษ
            Adjective Clause หรือ Relative Clause คือ สัมพันธานุประโยค หรือ ประโยคที่ไปขยายคำนามที่อยู่ข้างหน้า สามารถแบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ Defining Relative Clause คือประโยคที่ทำหน้าที่คล้าย Adjective (คำคุณศัพท์) เพื่อไปขยายนามหรือสรรพนามที่อยู่ข้างหน้าให้ได้ใจความสมบูรณ์และชัดเจนขึ้น ว่าเป็น คนไหน สิ่งไหน อะไร ของใคร หากไม่มีประโยค defining Relative Clause มาขยาย คำนามหรือสรรพนามที่กล่าวถึงก็จะไม่เจาะจง ตัวอย่าง เช่น The thief was arrested จากประโยคนี้ผู้อ่านจะไม่ทราบเลยว่า ขโมยคนใหญ่ถูกจับ แต่ถ้าเติม defining Relative Clause ที่หลังคำนาม ก็จะทำให้เนื้อหามีความสมบูรณ์มากขึ้น เช่น The thief who plundered the bank yesterday was arrested โดยไม่มีเครื่องหมาย comma ( , ) อยู่ระหว่าง noun กับ defining Relative Clause

                Adjective Clause  ประเภทที่สองคือ Non- defining Relative Clause คือ ประโยคที่ทำหน้าที่คล้าย Adjective แต่ไม่ได้ขายนามข้างหน้าโดยตรง เนื่องจากคำนามนั้นมีความชัดเจนอยู่แล้ว ว่า เป็นใคร เป็นอะไร สิ่งไหน หรือ ของใคร Clause ที่เพิ่มเข้ามา จึงเพียงแค่ช่วยเสริมความละเอียดให้กับคำนามนั้นมากยิ่งขึ้น แม้จะตัดข้อความทิ้งไปก็ไม่ทำให้ ขาดใจความสำคัญ หรือใจความไม่สมบูรณ์แต่อย่างใด และสามารถแยก Non- defining Relative Clause ที่เพิ่มเข้ามาจึงต้องใช้เครื่องหมาย comma คั้นหน้าและหลัง Clause ของมันไว้เสมอ ตัวอย่างเช่น Our teacher of English is getting married soon และเมื่อเติม Non- defining relative Clause เข้าไปก็จะได้ประโยคว่า Our teacher of English , who returned abroad , is getting married soon.
        การใช้ Relative Pronoun ใน Adjective Clause เนื่องจาก Adjective Clause นั้นต้องอาศัย Relative Pronoun เป็นคำหน้าของ Clause ซึ่งเรียกอีกชื่อว่า Relative Clause เพราะเพื่อไม่ให้เกิดความสับสนในการใช้จึงแยกไว้อย่างชัดเจน
        เมื่อประธาน(subject) กับคนใช้ who มากกว่า that ตัวอย่างเช่น The boy who obeys his parents is a good boy. แต่ถ้าประธานเป็นสิ่งของจะใช้ which มากกว่า that เช่น  The car which (that) is going past now belongs to me. และเมื่อเป็นกรรมของกริยา (object of verb) กับคนใช้ whom เช่น Chartes Dickens,whom I met in Itly, was a very famous writer. ส่วนสัตว์,สิ่งของจะนิยมใช้ which มากว่า that เช่น Thai silk,which she bought last week, is very beautiful
          และเมื่อส่วนที่ขยายเป็นกรรมของบุพบท (object of preposition) กับคนจะนิยมใช้ who(m) มากกว่า that และสามารถละประธานได้ เช่น The man ( who(m) หรือ that)the book was written by is now reading a newspaper in his office. และถ้ากับสัตว์และสิ่งของใช้ which มากกว่า that ซึ่งตำแหน่งวางระหว่างบุพบท กับกรรม แยกได้เป็น informal คือ the radio(which)I listen to is not dear. และ formal คือ The radio to which I listen is not dear.
          สุดท้ายคือถ้าส่วนที่ขยายเป็นการแสดงความเป็นเจ้าของ (Possessive) กับคนใช้คำว่า whose เพียงคำเดียว เช่น  John, whose mother wanted him to be a doctor, earns his living by singing. ส่วนสัตว์และสิ่งของ การแสดงความเป็นเจ้าของมีอยู่ 2 คำคือ of which หรือ with + adj.+ n. เช่น The bppk of which the cover is black and white is interesting หรือ The dog with a long tail is braking.

            กล่าวโดยสรุปคือหากผู้เรียนภาษามีความเข้าใจและแม่นยำในด้านพื้นฐานทางไวยากรณ์ของภาษานั้นๆ ก็จะทำให้ผู้เรียนภาษาสามารถพูดหรือเขียนได้อย่างถูกต้องและที่สำคัญคือในการแปลเมื่อผู้เรียนเข้าใจหลักไวยากรณ์ งานแปลที่ได้ก็จะมีคุณภาพ ดังนั้นหากผู้เรียนภาษาไม่มีความเข้าใจในเนื้อหา เรื่องไหนก็ควรทำความเข้าใจหรือหาวิธีที่สามารถทำให้เข้าใจเรื่องนั้นๆ ได้อย่างแท้จริงที่งนี้ก็เพื่อผลดีต่อผู้เรียนภาษาเอง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น