วันอาทิตย์ที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

Learning Log (15) นอกห้องเรียน

Learning Log (15) นอกห้องเรียน


                    จากการอบรมเชิงปฏิบัติการในหัวข้อ เทคนิคการสอนภาษาอังกฤษแบบบูรณาการทักษะ ในวันที่ 30 ตุลาคม 2538 ในช่วงเช้า โดย ผศ.ดร.ศิตา เยี่ยมขันติถาวร จะเกี่ยวกับวิธีการสอนภาษาอังกฤษในศตวรรษที่ 21 โดยมีหัวข้อหลักๆ คือหัวข้อที่ 1 การเรียนการสอนภาษาอังกฤษตั้งแต่อดีต หัวข้อที่2 การเรียนการสอนใน ศตวรรษที่ 21 หัวข้อที่3 กลวิธีการเรียนการสอนภาษาวนปัจจุบัน
                    การเรียนการสอนภาอังกฤษที่เน้นกฎเกณฑ์ของภาษา ได้แก่ วิธีการสอนแบบไวยากรณ์และแปล (The Grammar – Translation Method) คือไม่เน้นการฟังพูดแต่จะเน้นหลักเรื่องการเรียนไวยากรณ์และการแปล วิธีการสอนแบบตรง (The Direct Method) คืออิงแนวคิดที่ว่า ภาษาคือภาษาพูด การเรียนภาษาคือ การให้ผู้เรียนได้สื่อสารด้วยภาษาที่เรียนเพื่อประสบผลสำเร็จ  วิธีการสอนแบบฟัง – พูด (The Audio – Lingual Method) คือเริ่มจากการฟัง-พูดเป็นพื้นฐานไปสู่การอ่านเขียน  วิธีการสอนแบบเงียบ (The Silent Method) วิธีการสอนแบบนี้ตะเน้นความรู้ความเข้าใจเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ โดยครูผู้สอนจะพูดน้อยที่สุด เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้พูด ผู้สอนเป็นเพียงผู้ช่วยเหลือให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากสิ่งแวดล้อม
                        วิธีการสอน ตามแนวธรรมชาติ (The Natural Approach) เป็นการเลียนแบบการรับรู้ภาษาที่หนึ่งของเด็กเล็ก วิธีการสอนแบบชักชวน (Suggestopedia) จะอิงแนวคิดที่ว่าสมองของมนุษย์เต็มไปพลัง ผู้สอนจึงควรโน้มน้าวให้ผู้เรียนได้ใช้สมองอย่างเต็มที่โดยขจัดความกลัว วิตกกังวล และข้อห้ามต่างๆ ที่เป็นอุปสรรคต่อการเรียนภาษา วิธีการสอนแบบตอบสนองด้วยท่าทาง คือ มุ่งพัฒนาความเข้าใจในการฟัง ในช่วงต้นของการเรียนรู้จะใช้ท่าทางใช้เป็นหลักในการสอน การเรียนรู้แบบร่วมมือ ( Cooperative Leaning) จะแบ่งผู้เรียนเป็นกลุ่มย่อยๆ ส่งเสริมให้ผู้เรียนทำงานร่วมกันการเรียนการสอนที่ใช้ภาระงาน (task) เป็นหลัก ต้องส่งเสริมให้ผู้เรียนได้ใช้ภาษาในการปฏิบัติภาระงานให้สำเร็จ

                   การเรียนรู้จากการทำโครงงาน (Project-Based Learning) แนวการสอนภาษาแบบกำหนดสถานการณ์ คือ เน้นที่ตัวผู้เรียน ผู้สอน/ผู้เรียนเลือกสถานการณ์นั้นมาจัดสอน ตามวัตุประสงค์ของผู้เรียน/บทเรียน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น