วันอาทิตย์ที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

Learning Log (13) นอกห้องเรียน

Learning Log (13) นอกห้องเรียน


        จากการอบรมเชิงปฏิบัติการ ‘’เทคนิคการสอนภาษาอังกฤษแบบบูรนาการทักษะ’’ ในวันที่ 29 เวลา 08.30 – 12.00 ในช่วงเช้า โดย ผศ.ดร. ประกาศิต สิทธิ์ธิติกุล นายกสมาคมครูสอนภาษาอังกฤษแห่งประเทศไทย ( Thailand TESOL ) กล่าวเสวนาวิชาการงานวิจัยในหัวข้อ Beyond Language Learning โดย ดร.สุจินต์ หนูแก้ว อาจารย์สุนทร บุญแก้ว และผศ.ดร. ประกาศิต สิทธิ์ธิติกุล เป็นผู้ดำเนินรายการ โดยมีเนื้อหาดังนี้ ในปัจจุบันภาษาอังกฤษเป็นเครื่องมือในการสืบค้นความรู้ในวิชาอื่น ๆ รวมทั้งที่จะไปทำงานในสาขาอื่น ๆ หลักการเรียนการสอนในไทยหรือทั้งทั่วโลกจะเน้นการเรียนการสอนแบบ standard มี 5 หัวข้อ หรือ 5c ตัวแรกคือ C = communication : การสื่อสาร สองคือ C = culture ต้องมีความรู้เรื่อง culture completion คือ นอกจากเรียนเรื่องภาษาแล้วเราต้องเข้าใจบริบทของวัฒนธรรมของภาษานั้น ๆ
C ที่สาม คือ C = connection คือการเรียนภาษาอังกฤษเพื่อนที่จะเชื่อมโยงเข้ากับวิชาอื่น ๆ และ C = comparison คือ การเปรียบเทียบตัวภาษาและววัฒนธรรมของเรากับของประเทศอื่น ๆ C ตัวสุดท้าย คือ community
        วิทยาการวันนี้คือ ท่าน ดร.สุจินต์ หนูแก้ว และท่านอาจารย์สุนทร บุญแก้ว จะมาพูดในหัวข้อเรื่อง Beyond Language Learning โดย ดร.สุจินต์ กล่าวว่าคุณลักษณะที่จำเป็นอย่างยิ่งสำหรับคนในศตวรรษที่ 21 ประกอยด้วย 7c และเพิ่มความสามารถอี 3  ประการคือ ความสามารถในการอ่านการเขียน ความสามารถในการคิดคำนวณ ซึ่งถือว่าเป็นความสามารถพื้นฐาน C ตัวแรก critical thinking and problem solving ต่อไปคือ computing and ICT ability และ career and learning skill ซึ่งจากงานวิจัยจะใช้ทักษะการคิดวิเคราะห์ควบคุมเป็นตัวจุดประการการพัฒนา ซึ่งเป็นลำดับการเรียนรู้ของคน ซึ่ง__กล่าวไว้ว่า ขั้นต่ำสุดของการเรียนรู้ของมนุษย์คือ ความรู้ความจำ  (remembering) ต่อมาคือ ความเข้าใจ (understanding) สามคือ สามารถนำไปใช้ได้ ถัดไปคือ ความสามารถในการคิดวิเคาระห์ (analyzing) และขั้นสุดท้ายคือ การประเมินค่า
            อีกท่านคือ อาจารย์สุนทร บุญแก้ว ท่านมีความพยายามเป็นอย่างมากที่ต้องให้นักเรียนของท่านมีความเชี่ยวชาญในการใช้ภาษาอังกฤษ ซึ่งท่านอาจารย์สุนทร ได้จัดทำโครงการที่ให้นักเรียนในสาขาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวไปดูงานที่ประเทศมาเลเซีย ติดต่อกันเป็นปีที่ 3 แล้ว และได้มีโอกาสร่วมโครงการ PBL (problem based Learning)

จึงสรุปได้ว่าในการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ ตัวผู้เรียนตัวผู้เรียนต้องเรียนรู้ทั้งตัวเนื้อหาภาษาเอง และ รวมถึงสิ่งต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับภาษานั้น ๆ ที่ได้เรียน และตัวผู้สอนจะต้องสอนเนื้อหาความรู้ต่าง ๆ ให้สอดคล้องกัน คือ จะต้องให้เรียนรู้ภาษาและใช้ภาษาให้เกิดประสบการณ์ หรือ learning to use language 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น