วันอาทิตย์ที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

Learning Log (4) ในห้องเรียน


Learning Log ในห้องเรียน 4

                      ในการเรียนภาษานั้น ปฏิเสธไม่ได้ว่าผู้เรียนภาษาจะต้องเจอไวยากรณ์ซึ่งเป็นส่วนสำคัญของภาษานั้น ไวยากรณ์ (Grammar) คือระบบของภาษา หรือการศึกษากฎเกณฑ์ของภาษาซึ่งต้องรวมถึง เสียง คำศัพท์ ประโยค และส่วนประกอบอื่นๆ เช่น การประสมคำ และการตีความ คำว่าไวยากรณ์ ยังหมายถึงคุณลักษณะเชิงนามธรรมของตำรา ที่นำเสนอกฎเหล่านี้ด้วย สำหรับคนส่วนใหญ่ มักเข้าใจว่าไวยากรณ์ หมายถึงกฎที่เราจะต้องทราบเพื่อจะพูด หรือเขียนไอย่างถูกต้อง และอีกอย่างที่สำคัญในไวยากรณ์ภาษาอังกฤษ คือ ประโยค เพราะในชีวิตประจำวันเรามักพูดออกมาเป็นประโยคเพื่อสื่อสารให้ผู้อื่นเข้าใจประโยคนั้นประกอบขึ้นด้วยคำต่างๆ หลายประเภท และประโยคนั้นมีหลายประเภท เพื่อให้การสื่อสารเป็นไปอย่างราบรื่นดังนั้นเราควรเริ่มศึกษาประโยคก่อน

                        Simple sentence คือประโยคที่มีความคิดหลักหรือใจหลักเพียงอย่างเดียวในประโยคนั้นคือบอกว่า ใครทำอะไร ประโยคประเภทนี่สามารถอยู่ได้อย่างอิสระไม่จำเป็นต้องอาศัยประโยคประเภทอื่น และ มักจะเป็นประโยคง่ายๆ ไม่ซับซ้อนฟังแล้วเข้าใจเลยตัวอย่างเช่น The government support OTOP. The nurses look after the patients at the hospital.

                     Compound Sentence คือ ประโยคที่มีประโยคใหญ่หรือประโยคหลัก (Main Clause) ตั้งแต่ 2 ประโยคขึ้นไป โดยที่ประโยคหลักมีความสำคัญเท่ากันและเชื่อมด้วย คำสันธาน  ได้แก่  and, or, so, but  ตัวอย่างเช่น Yotsak had an accident last week, and he has not come to school for 2 weeks. You will do these homework, or you will be punished.

                         Complex Sentence หมายถึง ประโยคใหญ่ที่ประกอบด้วยประโยคเล็ก 2 ประโยค ซึ่งใน 2 ประโยคนั้นจะมีความสำคัญไม่เท่ากัน คือประโยคหนึ่งเรียกว่าประโยคหลัก (Main clause) และส่วนอีกหนึ่งประโยคแรกว่า ประโยคอาศัย ( Subordinate Clause ) ซึ่งประโยคที่ต้องอาศัย main clause จึงจะได้เนื้อหาสมบูรณ์ พูดง่ายๆคือ หากแยกออกจาก main clause หรือประโยคหลักที่มีเนื้อความสมบูรณ์ในตัวเองแล้ว จะไม่ได้ความหมายตัวอย่างเช่น He said that he would come back soon. Wait here until I come back. This is the house that Jacky bought last year.

                 Compound Complex Sentence หมายถึง ประโยคตั้งแต่ 2 ประโยคขึ้นไปมารวมกันโดยที่ประโยคใหญ่ท่อนหนึ่งนั้นจะมีประโยคเล็กซ้อนอยู่ภายในตัวอย่างเช่น I saw no one in the house which you had told me about so I didn’t go in. I couldn’t remember what his name is, but I will ask him.

                Adjective Clause (Relative Clause) คืออนุประโยคทีทำหน้าที่เหมือน adjective ที่ขยายนามหรือแสดงลักษณะของ คำนาม สรรพนาม โดยปกติแล้ว Adjective clause จะเชื่อมด้วย relative pronoun ได้แก่ that, which, who(m), whom, whose, when, why, how, in which, of which, of whom ตัวอย่างประโยคประเภทนี้เช่น  He is the man who can play football very well. She is a good girl whom he wants to marry. I know the women husband is a teacher. The shirt which I bought yesterday is too small.

*that ใช้กับคำนามที่เป็นบุคคล สัตว์ สิ่งของ กล่าวคือสามารถใช้แทน who, whom, where, which ได้ และการใช้เครื่องหมายวรรคตอนในประโยค Adj. clause อย่าใส่ (,) หรือจุลภาคถ้าจำเป็นต้องไปขยายนามนั้นตรง เช่น

- The man who teaches English literature is my brother. - Mr.Prawit,who teaches English literature is my brother.

และนอกจากนี้  Adj. clause สามารถเป็น Adj. phrase ได้โดยการลดรูปโดยมีอยู่ 2 วิธีคือ 1.ตัดประธานที่เป็น pronoun จำพวก who, which, that และ v.to be ออกด้วย ตัวอย่างเช่น Clause : Porf. Chakarin, who is my thesis adviser, will retire next year และเมื่อทำเป็น phrase: Prof. Chakarin ,my thesis adviser, will retire next year. 2.ในบางครั้ง Adj. clause จะไม่มีกริยา v.to be ดังนั้นเวลาลดรูป คือ ตัดประธานที่เป็น pronoun ออกแล้วเปลี่ยนกริยาแท้ในรูป –ing  (present participle) ตัวอย่างเช่น Clause: The school students who visited the national museum were very excited.  และเทื่อเปลี่ยนเป็น phrase: The school students visiting the national  museum were very excited.

                        ดังนั้นจะเห็นได้ว่าการเรียนภาษานั้นมีเรื่องซับซ้อนมากมาย ผู้เรียนภาษาจึงต้องมีความเม้นยำในหลักไวยากรณ์ของภาษานั้นๆ อย่างเช่นเรื่องที่ได้ศึกษาในครั้งนี้ เพียงแต่การศึกษาเรื่องประโยคเพียงอย่างเดียวแต่กลับมีความซับซ้อนมากมาย ผู้เรียนจึงต้องมีความแม่นยำเพราะจะได้เป็นประโยชน์แก่ตนเองและคู่สนทนาในการสื่อสารได้ และเพื่อให้บรรลุจุดมุ่งหมายของการใช้ภาษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ

 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น