วันอาทิตย์ที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

Learning Log (9)นอกห้องเรียน

Learning Log (9)นอกห้องเรียน


                       ในการเรียนรู้หรือฝึกทักษะภาษาอังกฤษนั้นไม่จำเป็นว่าต้องอ่านแค่หนังสือและ ตำราเรียนวิชาภาษาอังกฤษเพียงอย่างเดียว แต่ยังสามารถทำได้หลากหลายวิธี อาทิ การฝึกพูด การฝึกอ่าน การฝึกฟัง การฝึกเขียน  การฟังเพลง การชมภาพยนตร์ และสิ่งต่างๆ อีกมากมายหลายวิธี ทั้งนี้ผู้เรียนภาษาหรือผู้ที่ต้องการฝึกฝนทักษะต่างๆ ต้องเลือกวิธีการที่เหมาะสมกับตัวเอง อีกทั้งต้องพัฒนาทักษะต่างๆ รวมทั้งสิ่งที่อำนวยความสะดวกและเทคโนโลยีหรือนวัตกรรมมากมา หากเรารู้จักใช้สิ่งต่างๆ เหล่านี้ให้เกิดประโยชน์กับตัวเรามากที่สุดก็จะเป็นผลดีสำหรับตัวเรามาก
                        การเรียนรู้นอกห้องเรียนในสัปดาห์นี้มีหลายวิธี เพราะเพื่อให้เกิดประโยชน์กับตัวเราเองมากที่สุดซึ่งวิธีการแรกคือการฟังเพลง วิธีนี้เป็นวิธีที่ง่ายและสะดวกมากๆ เพราะสามารถทำพร้อมกับสิ่งต่างๆ ได้และยังสามารถจรรโลงจิตใจหรือให้ความผ่อนคลายได้ และยังให้ความสนุกสนานได้อีกด้วย และการฟังเพลงเป็นสิ่งที่ใกล้ตัวเรามากๆ ดังนั้นเป็นสิ่งที่ง่ายที่สุด ซึ่งเพลงสากลที่เลือกในครั้งนี้คือ เพลงประกอบภาพยนตร์เรื่อง  ไอ ฟาย แต้งกิ้ว เลิฟยู ชื่อเพลงว่า Walk you home   เป็นเพลงช้าๆที่ฟังสบายมาก โดยมีเนื้อหาเกี่ยวกับหนุ่มสาวคู่หนึ่ง ในคืน คืนหนึ่ง โดยฝ่ายชายอาสาเดินพาฝ่ายหญิงไปส่งบ้าน และก่อนที่ค่ำคืนนั้นจะจบลงฝ่ายชายต้องการคำตอบว่าฝ่ายหญิงคิดเหมือนตนหรือไหม
                            ซึ่งในการฟังเพลงนี้ มีทำนองที่ฟังสบายมาก และเนื้อเพลงก็มีความไพเราะและยังสามารถเข้าใจได้ง่ายซึ่งเพลงนี้เหมาะอย่างยิ่งสำหรับผู้ที่ต้องการฝึกทักษะทางภาษาโดยเฉพาะอย่างยิ่งคือทักษะการฟังเพราะมีเนื้อเพลงที่ไพเราะ  และสามารถเข้าใจเนื้อเพลงได้ง่าย ฟังเพียงไม่กี่รอบก็สามารถจำเนื้อเพลงและอาจร้องตามได้ เนื่องจากเป็นคำที่คุ้นหูและใช้อยู่บ่อยๆ แต่เพื่อให้การแปลนั้นมีภาษาที่สวยงามมากยิ่งขึ้นก็สามารถแปลได้แตอาจจะใช้เวลาในการแปล เพื่อเรียบเรียงให้เกิดความไพเราะ
                  การเลือกใช้เทคโนโลยีให้เกิดประโยชน์ก็เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่สามารถทำให้การเรียนรู้ด้วยตนเองสะดวกและมีคุณภาพมากยิ่งขึ้นและอีกหนึ่งสิ่งของการเรียนนอกห้องเรียนคือ การรับชมคลิปรายการสอนภาษาต่าง ผ่านทางยูทูปเพราะเป็นช่องทางที่สะดวกมากในปัจจุบัน โดยคลิปวิดีโอมี่เลือกว่าคือ ราบการ Loukgolf’s English Room ที่ออกอากาศทางช่อง GMM 25 ดำเนินรายการโดย ลูกกอล์ฟ คณาธิป สุนทรรักษ์ เป็นรายการสอนภาษาที่สอดแทรกความบันเทิงอีกด้วย
                 ในตอนที่เลือกมามีแขกรับเชิญคือ ผัดไท ดีใจ ดีดีดี ซึ่งแขกรับเชิญในสัปดาห์นี้ไม่ใช่ผู้ที่ใช้ภาษาได้อย่างคล่องแคล่ว หากแต่ต้องเรียนรู้และฝึกฝน ในครั้งนี้จะพูดเกี่ยวกับการทำอาหารโดยจะมีการสอดแทรก ภาษาอังกฤษอยู่ตลอดเวลา และยังมีการทวนศัพท์ที่น่าสนใจพร้อมกับให้ออกเสียงตาม สิ่งที่ชอบที่สุดคือไม่อนุยาติให้พูดภาษาไทย
                 


                     อีกหนึ่งวิธีในการภาษาคือ คือการสนทนากับเพื่อนๆ เป็นภาษาอังกฤษรวมถึงในบางครั้งจะสนทนากับชาวต่างชาติ โดยผ่านทาง Facebook line   เป็นส่วนใหญ่ซึ่งวิธีการนี่เป็นวิธีการฝึกทักษะที่ดีมาก เพราะเป็นการใช้ภาษาจริงๆ ในการสนทนากับเพื่อนนั้นจะรู้สึกผ่อนคลายมากกว่าตอนสนทนากับบุคคลอื่นๆ และในการสนทนาทุกครั้ง หากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งผิดหลักไวยากรณ์ก็จะช่วยกันแก้ไขให้ถูกต้อง
                      การชมภาพยนตร์เป็นอีกวิธีหนึ่ง ในครั้งนี้คือการชมภาพยนตร์เรื่อง World War Z  เป็นภาพยนตร์แนวบันเทิงคดีและสยองขวัญ โดยมี แบรด พิตต์ (รับบท เจอร์รี่ เลน) เป็นนักแสดงนำ โดยมีเนื้อเรื่องย่อคือ เจอร์รี่ วึ่งเคยทำงานใน UN ถูกดึงตัวให้มารับภารกิจในการหาต้นตอของเชื้อไวรัสซอมบี้เพื่อจะหาทางหยุดและยับยั้งการแพร่ระบาดของไวรัสก่อนที่จะสายเกินไป ซึ่งในการชมภาพยนตร์ครั้งนี้ จะดูทั้งที่มีบรรยายไทย และไม่มีคำบรรยายเป็นภาษาไทย ผลที่ได้คือฟังออกแค่บางส่วนว่าตัวละครกำลังพูดอะไร เนื่องจากความเร็วของการพูดของตัวละคร ดังนั้นจึงเป็นสิ่งที่ควรปรับปรุงเป็นอย่างมากจึงควรจะพัฒนาทักษะการฟังให้มากขึ้น
                   และโดยส่วนตัวการทำ Learning Log ทั้งในและนอกห้องเรียนก็เป็นวิธีการหนึ่งที่เป็นการเรียนรู้ด้วยตนเองอีกทางหนึ่ง เพราะเป็นการสรุปความรู้ที่ได้จากการเรียนรู้ อีกทั้งต้องประมวลความรู้ที่ได้ให้ออกมาในงานเขียน และเรียบเรียงเนื้อหามาเพิ่มเติมจากสิ่งที่ได้ไปในห้องเรียนเพื่อให้เกิดความเข้าใจมากยิ่งขึ้น

                   จึงสรุปได้ว่าการเรียนภาษานั้นไม่จำเป็นแค่การอ่านหนังสือหรือตำราเพียงเท่านั้นผู้เรียนภาษามีวิธีต่างๆ อีกมากมายที่จะพัฒนาภาษาของตนเองแต่ทั้งนั้นผู้เรียนเองจะต้องเลือกวิธีที่เข้ากับตนเอง และเหมาะสม ทั้งปัจจัย สภาวะ เวลา และสภาพแวดล้อมรอบตัวเอง เพื่อให้การเรียนรู้ในแต่ละครั้งนั้นเกิดประโยชน์สูงสุดกับตัวผู้เรียนเอง และเพื่อให้ผู้เรียนภานั้นบรรลุจุดมุ่งหมายที่ตั้งเอาไว้ และสามารถใช้ภาษาในการถ่ายทอดความรู้ หรือการสื่อสารได้อย่างถูกต้องและคล่องแคล่ว และเพื่อเป็นผลดีสำหรับตัวผู้เรียนภาษาอีกด้วย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น